ค้นหาสมุนไพร  
     
   
   
   
     
 
   
eherb ผลการค้นหา - Garlic - Common garlic, Allium, Garlic [3]
- Garlic - Common garlic, Allium, Garlic [3]
Allium sativum L.
 
 
 
 
 
รายละเอียดทางพฤษศาสตร์
 
  วงศ์ Amaryllidaceae (Alliaceae)
 
  ชื่อวิทยาศาสตร์ Allium sativum L.
 
  ชื่อไทย กระเทียม
 
  ชื่อท้องถิ่น มะเป้าลุ้ย(ปะหล่อง)
 
  ลักษณะทาง พฤกษศาสตร์ ราก เป็นรากฝอย แผ่กระจายหาอาหารบริเวณผิวดินและลึกไม่เกิน 10-12 นิ้ว เป็นพืชล้มลุกประเภทใบเลี้ยงเดี่ยว หัว (bulb) ในดิน แต่ละหัวประกอบด้วยกลีบ (เป็นใบสะสมอาหาร) หลายกลีบเรียงซ้อนกันเป็นชั้นๆ บางพันธุ์แต่ละหัวมีเพียงกลีบเดียว เรียกว่า กระเทียมโทน แต่ละกลีบมีเปลือกหรือกาบ (sheathing leaf) หุ้มโดยรอบและสามารถแยกออกจากหัวเป็นอิสระได้ แต่ละกลีบสามารถนำไปปลูกได้หนึ่งต้นหรือหนึ่งหัวเป็นอย่างน้อย มีหลายสีแตกต่างกันไปตามพันธุ์ เช่น ขาว ชมพูหรือม่วง รูปทรงของหัวมีหลายแบบตั้งแต่ทรงกลมแป้น กลมรี กลมสูงและขนาดของหัวแตกต่างกันไปตามพันธุ์และสภาพพื้นที่ที่ปลูก เมื่อกระเทียมแก่จะมีแกนแข็ง (ก้านช่อดอก : peducle) เจริญงอกออกมาจากส่วนกลางของหัว
ใบ มีรูปร่างแคบ ลักษณะแบนยาวประมาณ 1-1.5 ฟุต กว้างประมาณ 1-2.5 ซม. ปลายใบแหลม จำนวนประมาณ 14-16 ใบต่อต้น
ดอก เป็นช่อ (umbel) ก้านช่อดอกยาว ดอกติดเป็นกระจุกที่ปลายก้านช่อที่มีลักษณะกลม ประกอบด้วยดอกหลายดอก มีกาบหุ้ม (bract) เป็นจะงอยยาว กลีบดอกมี 6 กลีบ ยาวประมาณ 6 มม. กลีบดอกมีรูปร่างยาวแหลม สีขาวแต้มสีม่วงหรือสีขาวอมชมพู ก้านดอกยาวเล็ก อับเรณู (anther) หันออกไปทางด้านนอกของดอก
เมล็ด สามารถขยายพันธุ์ได้เช่นเดียวกับกลีบกระเทียม ปกติการปลูกกระเทียมในประเทศมักจะไม่รอให้ออกดอกหรือติดผลหรือเมล็ด [3]
 
  ใบ ใบ มีรูปร่างแคบ ลักษณะแบนยาวประมาณ 1-1.5 ฟุต กว้างประมาณ 1-2.5 ซม. ปลายใบแหลม จำนวนประมาณ 14-16 ใบต่อต้น
 
  ดอก ดอก เป็นช่อ (umbel) ก้านช่อดอกยาว ดอกติดเป็นกระจุกที่ปลายก้านช่อที่มีลักษณะกลม ประกอบด้วยดอกหลายดอก มีกาบหุ้ม (bract) เป็นจะงอยยาว กลีบดอกมี 6 กลีบ ยาวประมาณ 6 มม. กลีบดอกมีรูปร่างยาวแหลม สีขาวแต้มสีม่วงหรือสีขาวอมชมพู ก้านดอกยาวเล็ก อับเรณู (anther) หันออกไปทางด้านนอกของดอก
 
  ผล เมล็ด สามารถขยายพันธุ์ได้เช่นเดียวกับกลีบกระเทียม ปกติการปลูกกระเทียมในประเทศมักจะไม่รอให้ออกดอกหรือติดผลหรือเมล็ด
 
  สรรพคุณ / การใช้ประโยชน์ - ทั้งต้น ใช้ประกอบอาหาร ทำให้มีกลิ่นหอม(ปะหล่อง)
- หัวกระเทียมสดและแห้ง ใบกระเทียมสด หรือน้ำมันกระเทียม [3]
 
  อ้างอิง เต็ม สมิตินันทน์,2544. ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย. ส่วนพฤกษศาสตร์ป่าไม้ สำนักวิชาการป่าไม้ กรมป่าไม้, กรุงเทพฯ.
[3] สมพร ภูติยานันต์, 2551. สมุนไพรใกล้ตัว เล่ม 13 : สมุนไพรแต่งสี กลิ่น รส. วิทยาศาสตร์เภสัชกรรม คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. ตุลย์การพิมพ์, เชียงใหม่.
 
  สภาพนิเวศ -
 
  เอกสารประกอบ
 
ภาพนิ่ง