|
วงศ์ |
Amaryllidaceae (Alliaceae) |
|
|
ชื่อวิทยาศาสตร์ |
Allium chinense G.Don. |
|
|
ชื่อไทย |
กระเทียมจีน, หอมซู, หัวคิว |
|
|
ชื่อท้องถิ่น |
เส่อเกล่อะชอเอะ(กะเหรี่ยงแม่ฮ่องสอน), กู่ชิ(อาข่า) |
|
|
ลักษณะทาง พฤกษศาสตร์ |
กระเทียมจีนเป็นพืชล้มลุกขนาดเล็กตระกูลเดียวกับกระเทียม มีรากสีขาวใต้ดิน ใบเป็นท่อยาว ปลายแหลม กระเทียมจีนมีลักษณะแตกต่างกับพืชสกุลเดียวกันที่ใบกลวงภายใน ก้านดอกตัน หรืออีกนัยหนึ่งใบและก้านดอกแตกต่างกัน เป็นพืชล้มลุกอายุ 2 ปี สูงได้ถึง 60 เซนติเมตร หัวรูปทรงรี กว้าง 0.5-1.5 เซนติเมตร ยาว 2-4 เซนติเมตร ปลายหัวเป็นแผ่นใบ เปลือกหุ้มหัวบาง สีขาวหรือขาวอมม่วง เมื่อปลูกหัวจะแบ่งตัวอย่างรวดเร็วจนแน่นและออกหน่อใหม่ ซึ่งเจริญเป็นหัวต่อไป ใบ 3-5 ใบต่อหัว ออกสลับระนาบเดียว ภายในเมื่อตัดตามขวางยาว 20-60 เซนติเมตร ดอกสมบูรณ์เพศออกเป็นช่อเดียวไม่มีช่อย่อย ก้านช่อดอกตัน ดอกย่อย 6-3 ดอกคล้ายร่ม กาบหุ้มช่อดอกมี 2 ลอน บางใส ก้านดอกย่อยยาว 1-3 เซนติเมตร ดอกย่อยรูประฆัง กลีบดอกสีขาว หรือขาวอมม่วง มีจุดสีแดงกระจายจำนวน 6 กลีบเรียงเป็นวง 2 ชั้น เกสรเพศผู้ยาวกว่ากลีบรวมมากจำนวน 6 อัน |
|
|
ใบ |
- |
|
|
ดอก |
- |
|
|
ผล |
- |
|
|
สรรพคุณ / การใช้ประโยชน์ |
- ใบ รับประทานสดกับน้ำพริก หรือนำไปแกง(กะเหรี่ยงแม่ฮ่องสอน)
- ใช้ทั้งต้นเป็นผักสด หรือผักดองเค็ม แทนพืชในสกุล Allium ชนิดอื่นๆ เกือบทั้งหมด รับประทานกับข้าว ทั้งข้าวต้มและข้าวสวย นำมาต้มเป็นน้ำซุปหรือต้มจืด นำมาผัดหรือแกง
|
|
|
อ้างอิง |
เต็ม สมิตินันทน์,2544. ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย. ส่วนพฤกษศาสตร์ป่าไม้ สำนักวิชาการป่าไม้ กรมป่าไม้, กรุงเทพฯ.
|
|
|
สภาพนิเวศ |
บริเวณที่ชุ่มชื้นไม่แฉะมาก สภาพดินร่วนปนทรายเล็กน้อย |
|
|
เอกสารประกอบ |
|