ค้นหาสมุนไพร  
     
   
   
   
     
 
   
eherb ผลการค้นหา พีพวนน้อย, นมควาย
พีพวนน้อย, นมควาย
Uvaria rufa Blume
 
 
 
 
 
รายละเอียดทางพฤษศาสตร์
 
  วงศ์ Annonaceae
 
  ชื่อวิทยาศาสตร์ Uvaria rufa Blume
 
  ชื่อไทย พีพวนน้อย, นมควาย
 
  ชื่อท้องถิ่น นมควาย(คนเมือง)
 
  ลักษณะทาง พฤกษศาสตร์ ต้น เป็นพรรณไม้เลื้อยที่มีลำเถาอ่อนและมีขนเป็นกระจุกรูปดาว แต่ถ้าแก่ไปผิวจะเกลี้ยงไม่มีขน มีสีน้ำตาลแดง
ใบ เป็นไม้ใบเดี่ยว ออกเรียงสลับกันไปตามข้อต้น ลักษณะของใบเป็นรูปยาวรี ปลายใบแหลมและเป็นติ่ง ส่วนโคนใบนั้นมนหรือเว้าเป็นรูปหัวใจ ด้านบนใบจะสาก ๆ มือเส้นกลางใบมีขน และใต้ใบจะมีขนสีน้ำตาลแดง ขนาดของใบกว้างประมาณ 1 – 1.5 นิ้วยาว 2 – 4 นิ้ว ก้านใบยาวครึ่งเซนต์
ดอก จะแตกดอกออกตามกิ่งหรือตามง่ามใบ ช่อหนึ่งจะมีดอกอยู่ 2 – 3 ดอก ดอกหนึ่งจะมีอยู่ 6 กลีบ แบ่งออกเป็น 2 ชั้น ลักษณะของดอกจะเชื่อมติดกันเป็นรูปถ้วย มีสีแดงอมม่วงตามกลีบดอกจะปกคลุมไปด้วยขนสีน้ำตาล มีกลิ่นหอม
ผล เป็นรูปไข่ อยู่รวมกันเป็นกระจุกประมาณ 2 – 6 ผล ผิวย่นและมีขนอ่อน ๆ ปกคลุมอยู่ ผลยาวประมาณ 1 – 1.5 นิ้ว มีเมล็ดเป็นรูปไข่จำนวนมาก ซึ่งจะเรียงกันเป็น 2 แถวสีน้ำตาลเป็นมัน[1]
 
  ใบ ใบ เป็นไม้ใบเดี่ยว ออกเรียงสลับกันไปตามข้อต้น ลักษณะของใบเป็นรูปยาวรี ปลายใบแหลมและเป็นติ่ง ส่วนโคนใบนั้นมนหรือเว้าเป็นรูปหัวใจ ด้านบนใบจะสาก ๆ มือเส้นกลางใบมีขน และใต้ใบจะมีขนสีน้ำตาลแดง ขนาดของใบกว้างประมาณ 1 – 1.5 นิ้วยาว 2 – 4 นิ้ว ก้านใบยาวครึ่งเซนต์
 
  ดอก ดอก จะแตกดอกออกตามกิ่งหรือตามง่ามใบ ช่อหนึ่งจะมีดอกอยู่ 2 – 3 ดอก ดอกหนึ่งจะมีอยู่ 6 กลีบ แบ่งออกเป็น 2 ชั้น ลักษณะของดอกจะเชื่อมติดกันเป็นรูปถ้วย มีสีแดงอมม่วงตามกลีบดอกจะปกคลุมไปด้วยขนสีน้ำตาล มีกลิ่นหอม
 
  ผล ผล เป็นรูปไข่ อยู่รวมกันเป็นกระจุกประมาณ 2 – 6 ผล ผิวย่นและมีขนอ่อน ๆ ปกคลุมอยู่ ผลยาวประมาณ 1 – 1.5 นิ้ว มีเมล็ดเป็นรูปไข่จำนวนมาก ซึ่งจะเรียงกันเป็น 2 แถวสีน้ำตาลเป็นมัน[1]
 
  สรรพคุณ / การใช้ประโยชน์ - ผลสุก รับประทานได้(คนเมือง)
- ผล รับประทานได้ จะมีรสหวาน และถ้านำมาตำผสมกับน้ำจะเป็นยาแก้ผดผื่นคันตามตัว และแก้เม็ด เป็นยาเย็นถอนพิษ
เนื้อไม้และราก นำมาต้มรวมกันจะเป็นยาแก้ไข้กลับ หรือไข้ซ้ำ และเป็นยาเนื่องจากทานของแมลงเป็นพิษเข้าไป
ราก เป็นยาบำรุงน้ำนม แก้โรคผอมแห้งของสตรีที่คลอดบุตรและอยู่ไฟไม่ได้[1]
 
  อ้างอิง เต็ม สมิตินันทน์,2544. ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย. ส่วนพฤกษศาสตร์ป่าไม้ สำนักวิชาการป่าไม้ กรมป่าไม้, กรุงเทพฯ.
[1] วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม, 2548. พจนานุกรมสมุนไพรไทย. ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 6. รวมสาส์น (1977) จำกัด. กรุงเทพ ฯ.
 
  สภาพนิเวศ -
 
  เอกสารประกอบ
 
ภาพนิ่ง