|
วงศ์ |
Orchidaceae |
|
|
ชื่อวิทยาศาสตร์ |
Vanilla planifolia Andr. |
|
|
ชื่อไทย |
วานิลา |
|
|
ชื่อท้องถิ่น |
สะอั๊บ(ลั้วะ) |
|
|
ลักษณะทาง พฤกษศาสตร์ |
เป็นพืชล้มลุกกลุ่มกล้วยไม้ ลำต้นสีเขียวอวบน้ำเป็นข้อๆ เป็นพืชใบเลี้ยงเดี่ยว
ใบ รูปหอก เรียงแบบสลับ ใบกว้าง 3-6 ซม. ย่าว 10-15 ซม.
ดอก ออกเมื่ออายุได้ 2-3 ปี ดอกสีเหลืองอ่อน ออกเป็นช่อตามปลายกิ่งและซอกใบ
ผล เป็นฝักผอมเรียวทรงกระบอก แต่ละฝักยาวประมาณ 15-25 ซม. ภายในมีเมล็ดจำนวนมาก เก็บเมล็ดได้เมื่อส่วนบนของฝักยาวสีเขียวเปลี่ยนเป็นสีเหลือง ซึ่งยังไม่มีกลิ่นและไม่สามารถนำมาใช้ได้ ต้องผ่านกระบวนการบ่มในภาชนะที่ปิดสนิทหรือตากแห้งจนฝักเป็นสีน้ำตาลเข้มก่อน ฝักจึงมีน้ำมันระเหย จะเสร็จสิ้นขั้นตอนต้องใช้เวลาเป็นเดือน [3] |
|
|
ใบ |
ใบ รูปหอก เรียงแบบสลับ ใบกว้าง 3-6 ซม. ย่าว 10-15 ซม.
|
|
|
ดอก |
ดอก ออกเมื่ออายุได้ 2-3 ปี ดอกสีเหลืองอ่อน ออกเป็นช่อตามปลายกิ่งและซอกใบ
|
|
|
ผล |
ผล เป็นฝักผอมเรียวทรงกระบอก แต่ละฝักยาวประมาณ 15-25 ซม. ภายในมีเมล็ดจำนวนมาก เก็บเมล็ดได้เมื่อส่วนบนของฝักยาวสีเขียวเปลี่ยนเป็นสีเหลือง ซึ่งยังไม่มีกลิ่นและไม่สามารถนำมาใช้ได้ ต้องผ่านกระบวนการบ่มในภาชนะที่ปิดสนิทหรือตากแห้งจนฝักเป็นสีน้ำตาลเข้มก่อน ฝักจึงมีน้ำมันระเหย จะเสร็จสิ้นขั้นตอนต้องใช้เวลาเป็นเดือน [3] |
|
|
สรรพคุณ / การใช้ประโยชน์ |
- ใบ ใช้ประกอบพิธีตานก๋วยสลาก (มักทำก่อนที่จะเริ่มเกี่ยวข้าว)(ลั้วะ)
- น้ำมันระเหยที่ได้จากฝักวานิลลาใช้แต่งกลิ่น ยา อาหาร ทิงเจอร์ และแต่งกลิ่นในอุตสาหกรรม น้ำหอม ผงซักฟอก สบู่ แต่งกลิ่นอาหารและขนม คัสตาร์ส พุตดิ้ง ช๊อกโกเลต เค้ก และที่รู้จักกันดีคือไอศกรีมวนิลลา นอกจากนี้ยังนำวานิลลามาทำเหล้าหวานอีกด้วย [3] |
|
|
อ้างอิง |
เต็ม สมิตินันทน์,2544. ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย. ส่วนพฤกษศาสตร์ป่าไม้ สำนักวิชาการป่าไม้ กรมป่าไม้, กรุงเทพฯ.
[3] สมพร ภูติยานันต์, 2551. สมุนไพรใกล้ตัว เล่ม 13 : สมุนไพรแต่งสี กลิ่น รส. วิทยาศาสตร์เภสัชกรรม คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. ตุลย์การพิมพ์, เชียงใหม่. |
|
|
สภาพนิเวศ |
- |
|
|
เอกสารประกอบ |
|