|
วงศ์ |
Cucurbitaceae |
|
|
ชื่อวิทยาศาสตร์ |
Gymnopetalum integrifolium (Roxb.) Kurz |
|
|
ชื่อไทย |
ขี้กาแดง |
|
|
ชื่อท้องถิ่น |
ขี้กา(คนเมือง), สะโดซะ,กะโดซะ(กะเหรี่ยงเชียงใหม่) |
|
|
ลักษณะทาง พฤกษศาสตร์ |
ไม้เถาเลื้อยพาดพันกับสิ่งยึดเกาะที่อยู่ใกล้ๆ เถา มีขนสีขาวสั้นตั้งตรงเกาะติดหนาแน่น |
|
|
ใบ |
ใบ เป็นใบเดี่ยว การเกาะติดของใบบนกิ่งแบบเวียนและมีหนวดที่โคนก้านใบ ใบรูปไข่เกือบกลม 5 เหลี่ยม ขนาดประมาณ 10x15 ซม. ปลายแหลม โคนเว้าเป็นติ่งหู ขอบหยักบิดเป็นคลื่น แผ่นใบผิวหยาบสากเป็นลอนตามรอยกดเป็นร่องของเส้นใบ หลังใบมีขนสั้นสีขาวจำนวนมาก ก้านใบสีเขียวอ่อนแกมเหลืองยาว มีขนชนิดเดียวกัน |
|
|
ดอก |
ดอก เป็นดอกเดี่ยวแยกเพศกัน เกิดที่ซอกใบ ดอกสีขาวกลีบดอกส่วนโคนเชื่อมติดกันเป็นหลอดส่วนปลายแยกเป็นกลีบ 4 - 5 กลีบ ดอกเพศเมียที่ฐานดอกมีรังไข่ทรงกลม ดอกเพศผู้ไม่มี |
|
|
ผล |
ผล ทรงกลม ผิวเรียบ ผลอ่อนสีเขียว มีริ้วสีขาวจางๆ เมื่อแก่สีส้มแดง ภายในมีเมล็ดจำนวนมาก เมล็ด ทรงกลมรีแบนมีเยื่อหุ้มเมล็ดเป็นเมือกใสสีเขียวเข้มเกือบดำ |
|
|
สรรพคุณ / การใช้ประโยชน์ |
- ยอดอ่อน ลวกกินกับน้ำพริก(กะเหรี่ยงเชียงใหม่)
- เครือ ต้มน้ำอาบ แก้อาการคัน หรือสำหรับเด็กที่ร่างกายไม่ค่อยสมบูรณ์ แข็งแรง(คนเมือง)
เครือ ต้มน้ำดื่มรักษาฌรคริดสีดวงทวาร, ราก ต้มน้ำดื่มเป็นยาถ่ายพยาธิ, ผล กินแก้อาการท้องผูก แต่หากรับประทานมากๆ จะทำให้ ท้องร่วงจนเป็นอันตรายได้(กะเหรี่ยงเชียงใหม่) |
|
|
อ้างอิง |
เต็ม สมิตินันทน์,2544. ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย. ส่วนพฤกษศาสตร์ป่าไม้ สำนักวิชาการป่าไม้ กรมป่าไม้, กรุงเทพฯ.
[2] สมพร ภูติยานันต์, 2546. สมุนไพรใกล้ตัว เล่ม 6 : สมุนไพรที่เป็นพิษ. วิทยาศาสตร์เภสัชกรรม คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. ตุลย์การพิมพ์, เชียงใหม่.
ลักษณะ ฝ่ายปฏิบัติการวิจัยและเรือนปลูกพืชทดลอง
http://clgc.rdi.ku.ac.th/index.php/resource/60-herb/123-gymnopetalum |
|
|
สภาพนิเวศ |
- |
|
|
เอกสารประกอบ |
|