|
วงศ์ |
Compositae (Asteraceae) |
|
|
ชื่อวิทยาศาสตร์ |
Gynura bicolor (Roxb. ex Willd.) DC. |
|
|
ชื่อไทย |
ว่านมหากาฬ |
|
|
ชื่อท้องถิ่น |
แจะออเมีย(เมี่ยน), ชั่วจ่อ(ม้ง), เครือผักปั๋ง(ลั้วะ) |
|
|
ลักษณะทาง พฤกษศาสตร์ |
ไม้ล้มลุก มีรากขนาดใหญ่ ลำต้นอวบน้ำ ทอดเลื้อยยาว ชูยอดตั้งขึ้น |
|
|
ใบ |
ใบ เดี่ยว ขอบใบหยัก หลังใบสีม่วงเข้ม ท้องใบสีเขียวแกมเทา |
|
|
ดอก |
ดอก ช่อ ออกที่ปลายยอด ก้านช่อดอกยาว กลีบดอกสีเหลืองทอง |
|
|
ผล |
ผล เป็นผลแห้ง ไม่แตก |
|
|
สรรพคุณ / การใช้ประโยชน์ |
- ใบ นำไปประกอบอาหาร เช่น ต้มใส่หมูหรือไก่(ลั้วะ)
- ใบสด รับประทานกับลาบ หรือต้มใส่ไก่เป็นยาบำรุงร่างกายหรือให้สตรีที่อยู่ไฟรับประทานเพื่อบำรุงน้ำนมและบำรุงเลือด(เมี่ยน)
- ผล เป็นผลแห้ง ไม่แตก
- หัว รับประทานแก้พิษอักเสบ ดับพิษกาฬ พิษร้อน แก้ไข้พิษเซื่องซึม แก้เริม
|
|
|
อ้างอิง |
เต็ม สมิตินันทน์,2544. ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย. ส่วนพฤกษศาสตร์ป่าไม้ สำนักวิชาการป่าไม้ กรมป่าไม้, กรุงเทพฯ.
สุนทรี สิงหบุตรา, 2536. สรรพคุณสมุนไพร 200 ชนิด. โอ เอส พริ้นติ้งเฮาส์, กรุงเทพฯ.
|
|
|
สภาพนิเวศ |
ควรปลูกในดินปนทรายที่ระบายน้ำได้ดี รดน้ำแต่พอดินชุ่มเท่านั้น เพราะว่านมหากาฬไม่ชอบดินแฉะซึ่งจะทำให้ใบเน่าได้ง่าย ควรให้ได้รับแสงแดดปานกลาง |
|
|
เอกสารประกอบ |
|