|
วงศ์ |
Compositae (Asteraceae) |
|
|
ชื่อวิทยาศาสตร์ |
Gynura procumbens (Lour.) Merr. (Syn. Gynura sarmentosa (Blume) DC.) |
|
|
ชื่อไทย |
แป๊ะตำปึง |
|
|
ชื่อท้องถิ่น |
ว่านกอบ(คนเมือง), แป๊ะตำปึง(ไทลื้อ), ใบเบก(คนเมือง), ชั่วจ่อ(ม้ง) |
|
|
ลักษณะทาง พฤกษศาสตร์ |
แป๊ะตำปึงเป็นพืชล้มลุก ลำต้นเลื้อยทอดตามพื้นดิน อวบน้ำทั้งต้น และมียางใส สูง 0.5-0.8 เมตร กิ่งก้านสาขามาก |
|
|
ใบ |
ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปหอก ขอบใบจักห่าง ปลายเรียวแหลม โคนแหลมหรือสอบแคบ ผิวใบหนามัน เนื้อใบขรุขระ |
|
|
ดอก |
ช่อดอกแยกแขนง ช่อยาว ชูตั้งขึ้น ออกตามซอกใบและปลายยอด ช่อย่อยกระจุกแน่น ใบประดับมีสีเขียวรูปทรงกระบอกหุ้ม กลีบดอกย่อยขนาดเล็ก สีเหลือง ก้านชูเกสรเพศเมียยาว แยกเป็น 2 แฉก มีลักษณะเป็นฝอยชูทั่วช่อดอกกระจุก |
|
|
ผล |
ผลแห้ง เมล็ดล่อน |
|
|
สรรพคุณ / การใช้ประโยชน์ |
- ยอดอ่อนและใบ รับประทานสดกับลาบ(ไทลื้อ,คนเมือง)
- ใบ รับประทานสดกับลาบมีสรรพคุณแก้โรคความดันสูง(คนเมือง)
ยอดอ่อน เป็นส่วนผสมในการต้มไก่กระดูกดำเพื่อรับประทานเป็นยาบำรุงร่างกาย
ยอดอ่อนและใบอ่อน รับประทานเป็นประจำ ช่วยรักษาหรือป้องกันมะเร็งเต้านมหรือมะเร็งมดลูก(คนเมือง) |
|
|
อ้างอิง |
เต็ม สมิตินันทน์,2544. ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย. ส่วนพฤกษศาสตร์ป่าไม้ สำนักวิชาการป่าไม้ กรมป่าไม้, กรุงเทพฯ.
|
|
|
สภาพนิเวศ |
- |
|
|
เอกสารประกอบ |
|