|
วงศ์ |
Boraginaceae |
|
|
ชื่อวิทยาศาสตร์ |
Heliotropium indicum L. |
|
|
ชื่อไทย |
หญ้างวงช้าง |
|
|
ชื่อท้องถิ่น |
- ชื้อเจาะ(ม้ง) - หญ้างวงช้างน้อย (ภาคเหนือ), ผักแพวขาว(กาญจนบุรี), กุนอกาโม(มาเลเซีย-ปัตตานี) [1] |
|
|
ลักษณะทาง พฤกษศาสตร์ |
ลักษณะทั่วไป ต้น เป็นพรรณไม้ล้มลุก ลำต้นมีความสูง ประมาณ 0.5-3 ฟุต ทั่วลำต้นมีขนสั้น
ใบ ใบเป็นใบเดี่ยว มีลักษณะเป็นรูปไข่ ปลายใบแหลม ริมขอบหยัก หรือมีคลื่นเล็กน้อย โคนใบหยักเว้าเป็นรูปหัวใจ พื้นผิวหยาบ ขรุขระ มีขนเล็กน้อย ใบมีนาดกว้างประมาณ 1-3 นิ้ว
ดอก ดอกออกเป็นช่อ ตามบริเวณปลายยอด ช่อหนึ่งยาวประมาณ 7 นิ้ว ปลายช่อม้วนเหมือนงวงช้าง ลักษณะของดอกเรียงเป็นแถว มีสีขาว หรือสีฟ้า เป็นดอกขนาดเล็ก มีกลีบรองกลีบดอก และกลีบดกอีก 5 กลีบ โคนกลีบเชื่อมติดกันเป็นท่อ ปลายกลีบแยกออกจากกัน ดอกมีขนาดกว้างประมาณ2 มม. ข้างนอกดอกมีขนนุ่ม ภายในท่อดอกมีเกสรตัวผู้ 5 อัน และเกสรตัวเมียอยู่ 2 อัน ติดอยู่กับฐานดอก
ผล ผลมีลักษณะเป็นรูปไข เปลือกผลแข็ง มีขนาดเล็ก ภายในผลมี/2 ช่องๆหนึ่งมี 1 เมล็ด [1] |
|
|
ใบ |
ใบ ใบเป็นใบเดี่ยว มีลักษณะเป็นรูปไข่ ปลายใบแหลม ริมขอบหยัก หรือมีคลื่นเล็กน้อย โคนใบหยักเว้าเป็นรูปหัวใจ พื้นผิวหยาบ ขรุขระ มีขนเล็กน้อย ใบมีนาดกว้างประมาณ 1-3 นิ้ว
|
|
|
ดอก |
ดอก ดอกออกเป็นช่อ ตามบริเวณปลายยอด ช่อหนึ่งยาวประมาณ 7 นิ้ว ปลายช่อม้วนเหมือนงวงช้าง ลักษณะของดอกเรียงเป็นแถว มีสีขาว หรือสีฟ้า เป็นดอกขนาดเล็ก มีกลีบรองกลีบดอก และกลีบดกอีก 5 กลีบ โคนกลีบเชื่อมติดกันเป็นท่อ ปลายกลีบแยกออกจากกัน ดอกมีขนาดกว้างประมาณ2 มม. ข้างนอกดอกมีขนนุ่ม ภายในท่อดอกมีเกสรตัวผู้ 5 อัน และเกสรตัวเมียอยู่ 2 อัน ติดอยู่กับฐานดอก
|
|
|
ผล |
ผล ผลมีลักษณะเป็นรูปไข เปลือกผลแข็ง มีขนาดเล็ก ภายในผลมี/2 ช่องๆหนึ่งมี 1 เมล็ด [1] |
|
|
สรรพคุณ / การใช้ประโยชน์ |
- ลำต้น ต้มน้ำดื่มผสมกับชั้วจ้างหม่อ (หญ้าปันยอด) และต้น แป๊ะอะ (ว่านน้ำ) แก้อาการปวดท้องที่เกิดจากอาหารเป็นพิษ(ม้ง)
- ทั้งลำต้น ใช้ลำต้นสด นำมาต้มเอาน้ำกินเป็นยาแก้ไอ ขับปัสสาวะ แก้หอบหืด แก้ขัดเบา แก้ไข้ ปอดอักเสบ เจ็บคอ แก้นิ่ว แผลบวมมีหนอง แก้ตาฟาง และเป็นยารักษาโรคชักในเด็ก
ใบ ใช้ใบสด นำมาตำให้ละเอียด คั้นเอาน้ำเป็นยาหยอดหู รักษาสิว พอกฝี พอกแผล รักษาโรคผิวหนัง และทำเป็นยาอมกลั้วคอแก้เจ็บคอ เป็นต้น
ดอก ใช้ดอกสด นำมาต้มกินเป็นยาขับระดู
ราก ใช้รากสด นำมาตำให้ละเอียด คั้นเอาน้ำหยอดตาแก้ตาฟาง ตามัว และแก้ตาเจ็บเป็นต้น [1] |
|
|
อ้างอิง |
เต็ม สมิตินันทน์,2544. ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย. ส่วนพฤกษศาสตร์ป่าไม้ สำนักวิชาการป่าไม้ กรมป่าไม้, กรุงเทพฯ.
[1] วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม, 2548. พจนานุกรมสมุนไพรไทย. ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 6. รวมสาส์น (1977) จำกัด. กรุงเทพ ฯ.
[2] สมพร ภูติยานันต์, 2546. สมุนไพรใกล้ตัว เล่ม 6 : สมุนไพรที่เป็นพิษ. วิทยาศาสตร์เภสัชกรรม คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. ตุลย์การพิมพ์, เชียงใหม่. |
|
|
สภาพนิเวศ |
- |
|
|
เอกสารประกอบ |
|