|
วงศ์ |
Leguminosae (Mimosaceae) |
|
|
ชื่อวิทยาศาสตร์ |
Albizia odoratissima (L.f.) Benth. |
|
|
ชื่อไทย |
กางขี้มอด กางแดง |
|
|
ชื่อท้องถิ่น |
ไม้กาง(ไทใหญ่), ตุ๊ดเครน(ขมุ) |
|
|
ลักษณะทาง พฤกษศาสตร์ |
ไม้ต้น สูง 10-15 เมตรปลายยอดและกิ่งอ่อนมีรอยแผล ระบายอากาศ |
|
|
ใบ |
ใบ เป็นใบประกอบแบบขนนกสองชั้น ยาว 20-30 ซม. ใบย่อย 10-16 คู่ รูปขอบขนานแกมเบี้ยว กว้าง 0.6-1.2 ซม. ยาว 1.1-3.5 ซม. |
|
|
ดอก |
ดอก สีขาว ออกเป็นช่อตามกิ่ง ยาว 10-20 ซม. ช่อดอกย่อยประกอบด้วยดอกย่อยหลายดอก รวมกันเป็นกลุ่ม กลีบรองดอกรูปหลอดปลายเป็นซี่เล็ก กลีบดอกรูปกรวย ยาว 6.5-9 มม. ปลายแยกเป็นแฉก เกสรผู้จำนวนมาก |
|
|
ผล |
ผล เป็นฝักแบนรูป ขอบขนาน กว้าง 2.5-3 ซม. ยาว 17-20 ซม. เมื่อแก่มีสีน้ำตาลเข้ม และแตกด้านข้าง เมล็ด รูปรีกว้าง |
|
|
สรรพคุณ / การใช้ประโยชน์ |
- เปลือกต้น ต้มน้ำแล้วอมไว้ในปากแก้อาการปวดฟัน(ไทใหญ่)
- ลำต้น ใช้ทำเสาบ้าน เพราะเป็นไม้เนื้อแข็งปลวกไม่กิน(ขมุ)
- ยอดอ่อน ใช้ในพิธีสร้างบ้านเพื่อความเป็นสิริมงคล(ไทใหญ่) |
|
|
อ้างอิง |
เต็ม สมิตินันทน์,2544. ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย. ส่วนพฤกษศาสตร์ป่าไม้ สำนักวิชาการป่าไม้ กรมป่าไม้, กรุงเทพฯ.
สำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ (องค์การมหาชน) http://www.thaibiodiversity.org/Life/LifeDetail.aspx?LifeID=765 |
|
|
สภาพนิเวศ |
- |
|
|
เอกสารประกอบ |
|