|
วงศ์ |
Cucurbitaceae |
|
|
ชื่อวิทยาศาสตร์ |
Hodgsonia heteroclita (Roxb.) Hook.f. |
|
|
ชื่อไทย |
มะกิ้ง |
|
|
ชื่อท้องถิ่น |
แผละลอ(ลั้วะ), เปี้ยวโย่(เมี่ยน), มะกิ้ง(คนเมือง) |
|
|
ลักษณะทาง พฤกษศาสตร์ |
เป็นไม้เถาเลื้อยเกาะกับต้นไม้ขนาดใหญ่ ใบเดี่ยวรูปฝ่ามือ มี 3-5 แฉก ขอบใบเรียบ หรือจักฟันเลื่อยห่าง แผ่นใบเกลี้ยง มีต่อมขนาดเล็กประปราย โคนก้านใบมีเกล็ดประดับคล้ายหนามสีดำ มีมือเกาะแยกเป็น 2-3 แฉก ดอกแยกเพศต่างต้น สีขาวครีม ออกตามซอกใบ ผลกลมขนาดใหญ่ คล้ายฟักเขียว ผิวเกลี้ยง สีเขียวอมน้ำตาลหรือสีเขียวอ่อน ภายในมีเมล็ดขนาดใหญ่เรียงตัวเป็นวงกลม 6 เมล็ด |
|
|
ใบ |
- |
|
|
ดอก |
- |
|
|
ผล |
- |
|
|
สรรพคุณ / การใช้ประโยชน์ |
- เมล็ด เอาเปลือกหุ้มเมล็ดออกแล้วนำเนื้อในมาปิ้งรับประทานได้ หรือใช้กินกับข้าว(ลั้วะ)
เมล็ด เผาแล้วกะเทาะกินเนื้อในเมล็ด มีรสชาติอร่อยมัน(เมี่ยน,คนเมือง) |
|
|
อ้างอิง |
เต็ม สมิตินันทน์,2544. ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย. ส่วนพฤกษศาสตร์ป่าไม้ สำนักวิชาการป่าไม้ กรมป่าไม้, กรุงเทพฯ.
เกรียงไกรและคณะ. 2551. พืชอาหารและสมุนไพรท้องถิ่นบนพื้นที่สูง ชุดที่ 1 บ้านปางมะโอ. สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน). 190 หน้า |
|
|
สภาพนิเวศ |
ชอบเลื้อยพันอยู่กับต้นไม้ใหญ่ตามริมห้วย หรือบริเวณที่มีความชุ่มชื้น |
|
|
เอกสารประกอบ |
|