|
|
|
|
พืชตามกลุ่มการใช้ประโยชน์
|
|
|
|
eherb ผลการค้นหา
ผักคาวทอง, คาวตอง
|
ผักคาวทอง, คาวตอง
Houttuynia cordata Thunb. |
|
|
|
|
|
|
|
รายละเอียดทางพฤษศาสตร์ |
|
|
วงศ์ |
Saururaceae |
|
|
ชื่อวิทยาศาสตร์ |
Houttuynia cordata Thunb. |
|
|
ชื่อไทย |
ผักคาวทอง, คาวตอง |
|
|
ชื่อท้องถิ่น |
คาวตอง(คนเมือง), ด่อเคียงแงด(ปะหล่อง), เย้าเจ่าเหน่ง(ม้ง) |
|
|
ลักษณะทาง พฤกษศาสตร์ |
ผักคาวตองเป็นพืชล้มลุก เลื้อยอยู่ตามผิวดิน มีกลิ่นคาวโดยเฉพาะใบและยอดอ่อน ลำต้นมีข้อปล้องชัดเจน |
|
|
ใบ |
ใบเดี่ยวเรียงสลับ รูปหัวใจ ปลายใบเรียวแหลม ขอบใบเรียบ ผิวใบด้านบนสีเขียว ท้องใบสีน้ำตาลแดง |
|
|
ดอก |
ดอกเป็นช่อออกที่ปลายยอด ดอกย่อยขนาดเล็ก สีเหลือง มีใบประดับสีขาว 4 ใบ |
|
|
ผล |
ผลเป็นฝักทรงกระบอก มีเมล็ดจำนวนมาก |
|
|
สรรพคุณ / การใช้ประโยชน์ |
- ยอดอ่อน รับประทานสดกับลาบ(คนเมือง)
ใบ รับประทานเป็นผักจิ้มน้ำพริกหรือลาบ(ปะหล่อง)
ใบ รับประทานกับลาบหรือตำมะเขือยาว(คนเมือง)
ยอดอ่อนและใบ รับประทานสดกับลาบ หรือนำไปยำรวม กับผักชนิดอื่น(คนเมือง)
- ใบ ตำผสมกับสะระแหน่ หญ้าเอ็นยืด ตะไคร้และบัวบก ใช้ประคบบริเวณที่เอ็นขาด แก้อาการปวดเอว(ปะหล่อง)
ทั้งต้น หั่นแล้วแช่ในน้ำเชื่อม ดื่มเป็นยาบำรุงกำลัง แก้อาการปวดเมื่อย(คนเมือง)
ใบ ใช้เป็นส่วนผสมในการต้มไก่เพื่อรับประทานเป็นยาบำรุง ร่างกายหรือนำมาหั่นเป็นฝอยผสมใส่ไข่แล้วนำไปตุ๋น รับประทานรักษาโรคมาลาเรีย หรือนำไปต้มรับประทานรักษาโรคอีสุกอีใส(ม้ง) |
|
|
อ้างอิง |
เต็ม สมิตินันทน์,2544. ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย. ส่วนพฤกษศาสตร์ป่าไม้ สำนักวิชาการป่าไม้ กรมป่าไม้, กรุงเทพฯ.
|
|
|
สภาพนิเวศ |
- |
|
|
เอกสารประกอบ |
|
|
|
ภาพนิ่ง |
|
|
|
|
|
|
|
|