|
วงศ์ |
Convolvulaceae |
|
|
ชื่อวิทยาศาสตร์ |
Ipomoea batatas (L.) Lam. |
|
|
ชื่อไทย |
มันเทศ |
|
|
ชื่อท้องถิ่น |
ฟั่นด้อย(เมี่ยน), มันแกว(คนเมือง,ลั้วะ), มัน(ไทใหญ่), ด่อมังปร้างเร่น(ปะหล่อง), มันแก๋ว(ไทลื้อ) |
|
|
ลักษณะทาง พฤกษศาสตร์ |
มันแกวเป็นพืชล้มลุกมีหัวใต้ดินสีม่วงแดง ส้ม นวลหรือขาว รูปกระสวยหรือหัวยาว ลำต้นเลื้อยบนดิน ตั้งตรง หรือเลื้อยพัน ยาว 1-5 เมตร แตกกิ่งก้านมาก ที่ข้อมีราก
|
|
|
ใบ |
ใบเดี่ยว เรียงรูปไข่กว้างหรือรูปกลม กว้าง 4-11 ซม. ยาว 4-14 ซม. ขอบเรียบหรือจักเป็นแฉกมี 3-5 แฉก โคนใบรูปหัวใจ ผิวใบทั้งสองด้านเกลี้ยงหรือมีขนกระจาย ก้านใบยาว 4-20 ซม. |
|
|
ดอก |
ช่อดอกออกตามซอกใบ ก้านช่อดอกแข็งยาว 3-18 ซม. เป็นสัน เกลี้ยงหรือมีขน กลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นรูประฆังหรือรูปกรวย สีม่วงอ่อน |
|
|
ผล |
ผลแห้ง รูปไข่มี 4 ช่อง หรือน้อยกว่า เมล็ดเกลี้ยงมีขนาดเล็ก
ในชุมชนมี 3 ชนิด คือ มันแกวขาว มันแกวแดง และมันแกวม่อนไข่ |
|
|
สรรพคุณ / การใช้ประโยชน์ |
- หัวใต้ดิน รับประทานได้โดยการนำไปนึ่ง(เมี่ยน)
ยอดอ่อน นำไปแกง, หัวใต้ดิน นึ่งกินกับน้ำพริก(คนเมือง,ไทใหญ่,ลั้วะ)
ลำต้นใต้ดิน นำไปนึ่งหรือต้มรับประทานได้ หรือนำไปแกง(คนเมือง,ปะหล่อง)
ยอดอ่อนและใบอ่อน ใช้เป็นส่วนประกอบในอาหาร เช่น แกงส้ม(ไทลื้อ)
หัวใต้ดิน รับประทานได้โดยการนำไปนึ่งหรือทำขนม หวาน, ยอดอ่อน ประกอบอาหาร เช่น ใช้ใส่แกงส้มปลา(คนเมือง)
- ยอดอ่อน นำมาแกงให้สตรีหลังคลอดรับประทานช่วยให้มีน้ำนม(ปะหล่อง) |
|
|
อ้างอิง |
เต็ม สมิตินันทน์,2544. ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย. ส่วนพฤกษศาสตร์ป่าไม้ สำนักวิชาการป่าไม้ กรมป่าไม้, กรุงเทพฯ.
|
|
|
สภาพนิเวศ |
ขึ้นได้ดีในดินร่วนซุย ระบายน้ำดี แสงแดดจัด |
|
|
เอกสารประกอบ |
|