|
|
|
|
พืชตามกลุ่มการใช้ประโยชน์
|
|
|
|
eherb ผลการค้นหา
ผักอีหลืน
|
ผักอีหลืน
Isodon ternifolius (D.Don) Kudo |
|
|
|
|
|
|
|
รายละเอียดทางพฤษศาสตร์ |
|
|
วงศ์ |
Lamiaceae |
|
|
ชื่อวิทยาศาสตร์ |
Isodon ternifolius (D.Don) Kudo |
|
|
ชื่อไทย |
ผักอีหลืน |
|
|
ชื่อท้องถิ่น |
ห่อวอ(กะเหรี่ยงแม่ฮ่องสอน), เพาะวอ,เฮาะวอ(กะเหรี่ยงเชียงใหม่), อีหลืน(คนเมือง), ผักขี้อ้น(ลั้วะ) |
|
|
ลักษณะทาง พฤกษศาสตร์ |
เป็นไม้พุ่มขนาดเล็ก สูง 0.3-1.2 เมตร โคนลำต้นเนื้อไม้แข็ง ลำต้นและใบมีขนและมีกลิ่นหอม ใบเดี่ยว เรียงตรงข้ามเป็นคู่ ตั้งฉากกัน ปลายใบแหลม โคนใบมน ขอบใบหยักห่าง ผิวใบเรียบ ดอกช่อตั้งขึ้นเป็นชั้นๆ รูปฉัตร ดอกย่อยสีชมพูแกมม่วง กลีบเลี้ยงรูประฆัง ปลายแยกเป็น 2 ส่วน ส่วนบนมีกลีบเดียวกลม ส่วนล่างมี 4 แฉก กลีบดอกด้านบนมี 4 กลีบ ด้านล่างมี 1 กลีบ ปลายกลีบม้วนพับลง ผลแห้ง เมล็ดสีดำ อยู่ภายในซึ่งหุ้มด้วยกลีบเลี้ยง |
|
|
ใบ |
- |
|
|
ดอก |
- |
|
|
ผล |
- |
|
|
สรรพคุณ / การใช้ประโยชน์ |
- ใบ ใส่แกงหรือน้ำพริก มีกลิ่นหอม(กะเหรี่ยงแม่ฮ่องสอน,คนเมือง,ลั้วะ)
ใบ ใช้ประกอบอาหาร เช่น แกง หรือใส่ข้าวเบือน(กะเหรี่ยงเชียงใหม่) |
|
|
อ้างอิง |
เต็ม สมิตินันทน์,2544. ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย. ส่วนพฤกษศาสตร์ป่าไม้ สำนักวิชาการป่าไม้ กรมป่าไม้, กรุงเทพฯ.
|
|
|
สภาพนิเวศ |
- |
|
|
เอกสารประกอบ |
|
|
|
ภาพนิ่ง |
|
|
|
|
|
|
|
|