|
วงศ์ |
Euphorbiaceae |
|
|
ชื่อวิทยาศาสตร์ |
Jatropha curcas L. |
|
|
ชื่อไทย |
สบู่ดำ, ละหุ่งรั้ว |
|
|
ชื่อท้องถิ่น |
หมักเยา มะเยา มะหัว มะหุ่งฮั้ว มะโห่ง หงเทก (เหนือ), สบู่หัวเทศ สลอดดำ สลอดป่า สลอดใหญ่ สีหลอด (กลาง) |
|
|
ลักษณะทาง พฤกษศาสตร์ |
ไม้พุ่ม สูง 2 – 5 ม. ทุกส่วนมีน้ำยางสีขาวปนเทา เปลือกเรียบ เกลี้ยง
ใบ เดี่ยว เรียงสลับกัน รูปค่อนข้างกลมหรือไข่ป้อมๆ กว้าง 7 – 11 ซม. ยาว 7 – 16 ซม. ปลายใบแหลม ขอบใบเรียบหรือมีรอยหยัก 3 – 5 หยัก ฐานใบเว้าเป็นรูปหัวใจ เส้นใบออกจากจุดเดียวกันที่โคนใบ 5 – 7 เส้น ตามเส้นใบมีขนอ่อนปกคลุม ก้านใบยาว 6 – 18 ซม.
ดอก สีเหลือง ออกเป็นช่อที่ยอดและตามง่ามใบ ดอกเพศผู้และดอกเพศเมียอยู่บนต้นเดียวกัน ช่อดอกยาว 6 – 10 ซม. ดอกเพศผู้ มีกลีบรองกลีบดอก 5 กลีบ ยาว 4 – 5 มม. กลีบดอก 5 กลีบ เชื่อมติดกันเป็นหลอด ภายในหลอดมีขน เกสรผู้ 10 อันเรียงเป็น 2 วง ๆ ละ 5 อัน อับเรณูตั้งตรง ดอกเพศเมีย กลีบดอกไม่ติดกัน รังไข่และท่อรังไข่เกลี้ยง บางทีมีเกสรผู้ฝ่อ 5 อัน ภายในรังไข่มี 2 – 4 ช่อง มีไข่อ่อนช่องละ 1 หน่วย
ผล กลม เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 2.5 ซม. แก่จัดจะแตกเป็น 3 พู แต่ละพูมี 2 กลีบ
เมล็ด รูปกลมรี สีดำ ผิวเกลี้ยง [6] |
|
|
ใบ |
ใบ เดี่ยว เรียงสลับกัน รูปค่อนข้างกลมหรือไข่ป้อมๆ กว้าง 7 – 11 ซม. ยาว 7 – 16 ซม. ปลายใบแหลม ขอบใบเรียบหรือมีรอยหยัก 3 – 5 หยัก ฐานใบเว้าเป็นรูปหัวใจ เส้นใบออกจากจุดเดียวกันที่โคนใบ 5 – 7 เส้น ตามเส้นใบมีขนอ่อนปกคลุม ก้านใบยาว 6 – 18 ซม.
|
|
|
ดอก |
ดอก สีเหลือง ออกเป็นช่อที่ยอดและตามง่ามใบ ดอกเพศผู้และดอกเพศเมียอยู่บนต้นเดียวกัน ช่อดอกยาว 6 – 10 ซม. ดอกเพศผู้ มีกลีบรองกลีบดอก 5 กลีบ ยาว 4 – 5 มม. กลีบดอก 5 กลีบ เชื่อมติดกันเป็นหลอด ภายในหลอดมีขน เกสรผู้ 10 อันเรียงเป็น 2 วง ๆ ละ 5 อัน อับเรณูตั้งตรง ดอกเพศเมีย กลีบดอกไม่ติดกัน รังไข่และท่อรังไข่เกลี้ยง บางทีมีเกสรผู้ฝ่อ 5 อัน ภายในรังไข่มี 2 – 4 ช่อง มีไข่อ่อนช่องละ 1 หน่วย
|
|
|
ผล |
ผล กลม เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 2.5 ซม. แก่จัดจะแตกเป็น 3 พู แต่ละพูมี 2 กลีบ
เมล็ด รูปกลมรี สีดำ ผิวเกลี้ยง [6] |
|
|
สรรพคุณ / การใช้ประโยชน์ |
- ยอดอ่อน รับประทานกับลาบ(เมี่ยน)
- ยาง ทาตามง่ามนิ้วมือนิ้วเท้าที่คัน(กะเหรี่ยงแดง)
น้ำยาง ใช้สมานแผลสด เช่นแผลมีดบาดหรือแผลปาก เปื่อย(คนเมือง)
น้ำยาง นำมาทารักษาแผลไฟไหม้หรือน้ำร้อนลวก(ม้ง)
- ผล เป็นยาเบื่อทำให้ท้องเสียรุนแรง(เมี่ยน)
- ต้น ปลูกเป็นแนวรั้ว(ขมุ,กะเหรี่ยงแดง,กะเหรี่ยงแม่ฮ่องสอน)
- เมล็ด คั้นเอาน้ำมัน ใช้เป็นเชื้อเพลิง(กะเหรี่ยงแม่ฮ่องสอน)
ผลแก่ ผ่าครึ่งแล้วนำน้ำยางที่ได้ไปใช้จุดตะเกียงแทน น้ำมันได้(ม้ง)
- ใบหรือเมล็ด แก้โรคผิวหนัง ซึ่งได้แก่พวก ผื่นคัน หิด และฆ่าแมลง
เปลือกต้นหรือใบ แก้ปวดบวม แก้กระดูกหัก แก้บาดแผล และแก้อาการเคล็ดขัดยอก[1]
- ตำรับยา :
1. โรคผิวหนังผื่นคัน โดยนำเมล็ดมาตำแล้วผสมกับน้ำมันพืช ทาตรงบริเวณที่เป็น หรือใช้ใบสดลนไฟให้อ่อน แล้วขยี้ให้แหลกทาบริเวณที่เป็น
2. กระดูกหัก ให้ใช้เปลือกหรือใบสดกับส้มกบ และพริกไทยสัก 4 – 5 เม็ดนำมาตำรวมกันให้ละเอียด เสร็จแล้วก็นำไปผัดใส่เหล้า เอาไปพอกตรงบริเวณที่หัก
3. ฟกช้ำ ปวดบวม เคล็ดขัดยอก ใช้ใบสดตำพอกตรงบริเวณที่เป็น[1]
- ราก น้ำต้มรากินเป็นยาแก้ท้องเสีย ทำให้อาเจียน ระบาย และใช้ทาถูนวดแก้ปวดตามข้อ
ต้น น้ำยางต้นสดใช้เป็นยาห้ามเลือด ออกฤทธิ์คล้ายสารประเภท collodion ใช้เฉพาะที่ สำหรับรักษาโรคริดสีดวงทวารและแก้โรคผิวหนังบางชนิด กิ่งก้านทุบใช้แปรงฟันแก้เหงือกบวมอักเสบ
ใบ ยาชงกินแก้ไอ ส่วนน้ำต้มใบกินเป็นยาฟอกเลือด แก้ท้องเสีย ท้องร่วง ลดไข้ แก้ไอ อมบ้วนปากช่วยให้เหงือกแข็งแรง ทาแก้คัน และทาภายนอกช่วยขับน้ำนม น้ำคั้นใบใช้ทาท้องเด็กแก้ธาตุพิการหรือใช้ทาถูนวดแก้ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ทาแผลเรื้อรัง ทาฝี ลดอาการอักเสบ
ผล และ เมล็ด ผลกินเป็นยาถ่ายพยาธิ แก้บิด ท้องเสีย และแก้อาการกระหายน้ำ ส่วนเมล็ดเป็นพิษมาก มีคุณสมบัติเป็นยาเสพติดที่มีฤทธิ์กัดทำลาย ใช้ทางยาเป็นยาถ่าย โดยกินเมล็ดที่กะเทาะเปลือกออกแล้วนำมาย่างไฟเล็กน้อย จำนวน 3 – 5 เมล็ด สกัดได้น้ำมันกึ่งระเหย กินเป็นยาถ่ายอย่างแรงทำให้อาเจียน แก้น้ำเหลืองเสีย ตับอักเสบ ทาเฉพาะที่แก้คัน บวมแดง และน้ำมันนวดที่เตรียมขึ้นจากน้ำมันเมล็ด 1 ส่วน ผสมกับ Bland oil 3 ส่วน ใช้ทาถูกนวดแก้ปวดตามข้อ แก้คัน แก้ปวดเมื่อย และทาบาดแผลเล็กๆ น้อยๆ [6] |
|
|
อ้างอิง |
เต็ม สมิตินันทน์,2544. ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย. ส่วนพฤกษศาสตร์ป่าไม้ สำนักวิชาการป่าไม้ กรมป่าไม้, กรุงเทพฯ.
[1] วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม, 2548. พจนานุกรมสมุนไพรไทย. ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 6. รวมสาส์น (1977) จำกัด. กรุงเทพ ฯ.
[2] สมพร ภูติยานันต์, 2546. สมุนไพรใกล้ตัว เล่ม 6 : สมุนไพรที่เป็นพิษ. วิทยาศาสตร์เภสัชกรรม คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. ตุลย์การพิมพ์, เชียงใหม่.
[5] พงษ์ศักดิ์ พลเสนา, 2550. พืชสมุนไพรในสวนป่าสมุนไพรเขาหินซ้อน ฉบับสมบูรณ์. สวนพฤกษศาสตร์ ภาคตะวันออก (เขาหินซ้อน). เจตนารมณ์ภัณฑ์, ปราจีนบุรี.
[6] ลีนา ผู้พัฒนพงศ์, 2530. สมุนไพรไทยตอนที่ 5 . ฝ่ายพฤกษศาสตร์ป่าไม้ กองบำรุง กรมป่าไม้, กรุงเทพฯ.
[12] โครงการทรัพยากรพืชในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้, 2544. ทรัพยากรพืชในภูมภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ลำดับที่ 12(1) : พืชสมุนไพรและพืชพิษเล่ม 1 . สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย, กรุงเทพฯ. |
|
|
สภาพนิเวศ |
เป็นพืชที่ทนและปรับตัวเข้ากับสภาพแห้งแล้งได้ดี แม้มี ปริมาณน้ำฝนต่ำเพียง 300-1,000 มม.ต่อปี จึงทำให้เจริญได้ดี ใน แถบเขตร้อน หรือในพื้นที่ที่มีความสูงจนถึง 1,000 เมตรจากระดับน้ำทะเล หรือพื้นที่ที่มีความอุดมสมบูรณ์ของดินต่ำ |
|
|
เอกสารประกอบ |
|