|
วงศ์ |
Crassulaceae |
|
|
ชื่อวิทยาศาสตร์ |
Bryophyllum pinnatum (Lam.) Oken (Syn. Kalanchoe pinnata (Lam.) Pers.) |
|
|
ชื่อไทย |
คว่ำตายหงายเป็น |
|
|
ชื่อท้องถิ่น |
สะแกหล่า(กะเหรี่ยงแม่ฮ่องสอน), โกดเกาหลี(คนเมือง), บล้งตัวเก่า(ม้ง) |
|
|
ลักษณะทาง พฤกษศาสตร์ |
พืชล้มลุก ลำต้นตั้งตรง ขนาดสูงประมาณ 1 เมตร มีจุดสีม่วงเข้มแต้ม ส่วนใหญ่ไม่แตกกิ่งก้าน |
|
|
ใบ |
ใบเดี่ยว รูปไข่ ขอบใบจักเป็นซี่หันมนตื้นๆ แต่ละรอยจักมีตาที่สาม สามารถงอกราก และลำต้นใหม่ได้ เนื้อใบอวบหนา |
|
|
ดอก |
ดอกออกเป็นช่อที่ปลายยอด มีก้านช่อดอกยาว ดอกสีแดงปนเขียว รูปทรงกระบอกห้อยลง |
|
|
ผล |
ผลเป็นพวง เมล็ดขนาดเล็ก |
|
|
สรรพคุณ / การใช้ประโยชน์ |
- ใบ รับประทานสดกับลาบ(กะเหรี่ยงแม่ฮ่องสอน)
- ใบ เผาไฟแล้วคั้นน้ำ เอามาทาแผลไฟไหม้ช่วยให้แผล แห้งเร็ว(กะเหรี่ยงแม่ฮ่องสอน)
ใบ ต้มน้ำดื่มเป็นยาบำรุงกำลัง(คนเมือง)
ใบ เอาไปหั่นเป็นฝอยแล้วตุ๋นกับไข่รับประทานแก้อาการปวดหลังปวดเอว(ม้ง) |
|
|
อ้างอิง |
เต็ม สมิตินันทน์,2544. ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย. ส่วนพฤกษศาสตร์ป่าไม้ สำนักวิชาการป่าไม้ กรมป่าไม้, กรุงเทพฯ.
|
|
|
สภาพนิเวศ |
- |
|
|
เอกสารประกอบ |
|