|
วงศ์ |
Malvaceae |
|
|
ชื่อวิทยาศาสตร์ |
Kydia calycina Roxb. |
|
|
ชื่อไทย |
เลยงฝ้าย, ปอเลียง |
|
|
ชื่อท้องถิ่น |
- เชควอพา(กะเหรี่ยงแม่ฮ่องสอน) - เลียงฝ้าย ปอเต๊า ปอเลี้ยงฝ้าย ยาบใบมน(เหนือ) ปอจายอดยาว เลียงยาบ (เชียงใหม่) [8] |
|
|
ลักษณะทาง พฤกษศาสตร์ |
ไม้ต้น สูง 6-18 ม. มีขนรูปดาว
ใบ เดี่ยว เรียงเวียน รูปไข่ถึงค่อนข้างกลม กว้าง 3-17 ซม. ยาว 4-14 ซม. ปลายใบมน โคนใบตัด กลม หรือเว้าเป็นรูปหัวใจ ขอบใบเรียบ เป็นเหลี่ยมหรือเป็นแฉกตื้นๆ เส้นโคนใบมี 5-7 เส้น เส้นกลางใบมีเส้นแขนงใบข้างละ 2-3 เส้น อาจจะมีต่อมรูปรีอยู่เหนือโคนใบประมาณ 1 ซม. ด้านบนใบมีขนประปราย หรือเกลี้ยง ด้านล่างมีขนนุ่มหนาแน่น ก้านใบยาว 1.5-6 ซม. หูใบรูปลิ่ม ยาวประมาณ 2 มม. ร่วงง่าย
ดอก ออกที่ยอด แบบช่อแยกแขนงยาวถึง 30 ซม. ดอกจำนวนมาก มีทั้งดอกเพศผู้ ดอกเพศเมีย และดอกสมบูรณ์เพศ แต่ละดอกมีริ้วประดับรองรับ โคนเชื่อมติดกัน ปลายแยก 4-5 แฉก แฉกรูปไข่ ยาวประมาณ 4 มม. ปลายมน มีขนรูปดาวเล็ก ๆ คลุม เมื่อเป็นผลริ้วประดับจะขยายใหญ่ขึ้นมาก กลีบเลี้ยงโคนเชื่อมติดกัน ปลายแยกเป็นแฉกรูปสามเหลี่ยม 5 แฉก แฉกยาวประมาณ 5 มม. ทั้งริ้วประดับและกลีบเลี้ยงติดทนจนเป็นผลกลีบดอกโคนเชื่อมติดกันประมาณ 1 มม. ปลายแยก 5 กลีบ รูปไข่กลับ หรือรูปช้อน กว้างประมาณ 4 มม. ยาวประมาณ 8.5 มม. เกสรเพศผู้ติดกันเป็นหลอดด ยาวประมาณ 2.5 มม. ปลายแยกเป็น 5 กลุ่ม แต่ละกลุ่มมีอับเรณู 1-4 อัน รังไข่อยู่เหนือวงกลีบ รูปไข่ หรือแลม ภายในมี 3 ช่อง แต่ละช่องมีไข่อ่อน 2 หน่วย ก้านเกสรเพศเมียปลายแยก 3 แขนง ยอดเกสรรูปก้นปิด เป็นปุ่มเล็กๆ
ผล ค่อนข้างกลม ปลายเป็นจงอย ริ้วประดับรูปไข่กลับถึงรูปไข่กลับแคบ กว้างประมาณ 8 มม. ยาวประมาณ 12 มม. ปลายกลมมน โคนสอบแคบ โคนสุดเชื่อมติดกัน มีเส้นตามยาว 3-4 เส้น และมีเส้นร่างแห เมล็ด รูปไต แต่ละช่องมี 1 เมล็ด บางครั้งแต่ละผลมีเพียง 1 เมล็ด [8] |
|
|
ใบ |
ใบ เดี่ยว เรียงเวียน รูปไข่ถึงค่อนข้างกลม กว้าง 3-17 ซม. ยาว 4-14 ซม. ปลายใบมน โคนใบตัด กลม หรือเว้าเป็นรูปหัวใจ ขอบใบเรียบ เป็นเหลี่ยมหรือเป็นแฉกตื้นๆ เส้นโคนใบมี 5-7 เส้น เส้นกลางใบมีเส้นแขนงใบข้างละ 2-3 เส้น อาจจะมีต่อมรูปรีอยู่เหนือโคนใบประมาณ 1 ซม. ด้านบนใบมีขนประปราย หรือเกลี้ยง ด้านล่างมีขนนุ่มหนาแน่น ก้านใบยาว 1.5-6 ซม. หูใบรูปลิ่ม ยาวประมาณ 2 มม. ร่วงง่าย
|
|
|
ดอก |
ดอก ออกที่ยอด แบบช่อแยกแขนงยาวถึง 30 ซม. ดอกจำนวนมาก มีทั้งดอกเพศผู้ ดอกเพศเมีย และดอกสมบูรณ์เพศ แต่ละดอกมีริ้วประดับรองรับ โคนเชื่อมติดกัน ปลายแยก 4-5 แฉก แฉกรูปไข่ ยาวประมาณ 4 มม. ปลายมน มีขนรูปดาวเล็ก ๆ คลุม เมื่อเป็นผลริ้วประดับจะขยายใหญ่ขึ้นมาก กลีบเลี้ยงโคนเชื่อมติดกัน ปลายแยกเป็นแฉกรูปสามเหลี่ยม 5 แฉก แฉกยาวประมาณ 5 มม. ทั้งริ้วประดับและกลีบเลี้ยงติดทนจนเป็นผลกลีบดอกโคนเชื่อมติดกันประมาณ 1 มม. ปลายแยก 5 กลีบ รูปไข่กลับ หรือรูปช้อน กว้างประมาณ 4 มม. ยาวประมาณ 8.5 มม. เกสรเพศผู้ติดกันเป็นหลอดด ยาวประมาณ 2.5 มม. ปลายแยกเป็น 5 กลุ่ม แต่ละกลุ่มมีอับเรณู 1-4 อัน รังไข่อยู่เหนือวงกลีบ รูปไข่ หรือแลม ภายในมี 3 ช่อง แต่ละช่องมีไข่อ่อน 2 หน่วย ก้านเกสรเพศเมียปลายแยก 3 แขนง ยอดเกสรรูปก้นปิด เป็นปุ่มเล็กๆ
|
|
|
ผล |
ผล ค่อนข้างกลม ปลายเป็นจงอย ริ้วประดับรูปไข่กลับถึงรูปไข่กลับแคบ กว้างประมาณ 8 มม. ยาวประมาณ 12 มม. ปลายกลมมน โคนสอบแคบ โคนสุดเชื่อมติดกัน มีเส้นตามยาว 3-4 เส้น และมีเส้นร่างแห เมล็ด รูปไต แต่ละช่องมี 1 เมล็ด บางครั้งแต่ละผลมีเพียง 1 เมล็ด [8] |
|
|
สรรพคุณ / การใช้ประโยชน์ |
- เปลือกต้น ลอกออกมาตากแดด ฟั่นเป็นเชือก(กะเหรี่ยงแม่ฮ่องสอน)
- ใบ ใช้เป็นยาทาภายนอก [8] |
|
|
อ้างอิง |
เต็ม สมิตินันทน์,2544. ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย. ส่วนพฤกษศาสตร์ป่าไม้ สำนักวิชาการป่าไม้ กรมป่าไม้, กรุงเทพฯ.
[8] ก่องกานดา ชยามฤตและลีนา ผู้พัฒนพงศ์, 2545. สมุนไพรไทยตอนที่ 7 . ส่วนพฤกษศาสตร์ป่าไม้ สำนักวิชาการป่าไม้ หอพรรณไม้ กรมป่าไม้, กรุงเทพฯ. |
|
|
สภาพนิเวศ |
- |
|
|
เอกสารประกอบ |
|