ค้นหาสมุนไพร  
     
   
   
   
     
 
   
eherb ผลการค้นหา Billy-goat weed
Billy-goat weed
Ageratum conyzoides L.
 
 
 
 
 
รายละเอียดทางพฤษศาสตร์
 
  วงศ์ Compositae (Asteraceae)
 
  ชื่อวิทยาศาสตร์ Ageratum conyzoides L.
 
  ชื่อไทย สาบแร้งสาบกา
 
  ชื่อท้องถิ่น - หย่าเม่น(ปะหล่อง), นกนาซี(กะเหรี่ยงเชียงใหม่) - เทียมแม่ฮาง (เลย), หญ้าสาบแฮ้ง (เชียงใหม่), หญ้าสาบแร้ง (ราชบุรี), ตับเสือเล็ก (สิงห์บุรี), เช้งอั่งโชว (จีน – แต้จิ๋ว)[1]
 
  ลักษณะทาง พฤกษศาสตร์ ต้น เป็นพรรณไม้ล้มลุกที่มีอายุเพียงปีเดียวตาย ลำต้นจะตั้งตรงแตกกิ่งก้านสาขามาก ทั้งต้นจะมีขนปกคลุมอยู่ และเมื่อเด็ดมาขยี้ดมจะมีกลิ่นเฉพาะตัวเลย ลำต้นสูงประมาณ 1 – 2 ฟุต
ใบ ออกใบเดี่ยว เรียงตรงข้ามกันเป็นคู่ ๆ แต่ตรงส่วนยอดใบจะเรียงสลับกัน ลักษณะของใบเป็นรูปมนรี ปลายแหลม โคนใบเว้าคล้ายรูปหัวใจ ขอบใบเป็นจักฟันเลื่อย พื้นใบมีสีเขียวและมีขนสั้น ๆ อ่อน ๆ ปกคลุมอยู่ ยาวประมาณ 2 – 5 นิ้ว ก้านใบมีขนปกคลุมตลอดทั้งก้าน
ดอก ออกดอกเป็นช่ออยู่ตรงส่วนยอดของต้น ช่อหนึ่ง ๆ จะมีดอกขนาดเล็กประมาณ 6 มม. อัดตัวอยู่กันแน่น ดอกมีสีม่วงน้ำเงินหรือขาว มีอยู่ 5 กลีบ ๆ เลี้ยงสีเขียว
ผล จะเป็นรูปเส้นตรงสีดำ ส่วนบนจะมีขนสั้นอยู่ 5 เส้น[1]
 
  ใบ ใบ ออกใบเดี่ยว เรียงตรงข้ามกันเป็นคู่ ๆ แต่ตรงส่วนยอดใบจะเรียงสลับกัน ลักษณะของใบเป็นรูปมนรี ปลายแหลม โคนใบเว้าคล้ายรูปหัวใจ ขอบใบเป็นจักฟันเลื่อย พื้นใบมีสีเขียวและมีขนสั้น ๆ อ่อน ๆ ปกคลุมอยู่ ยาวประมาณ 2 – 5 นิ้ว ก้านใบมีขนปกคลุมตลอดทั้งก้าน
 
  ดอก ดอก ออกดอกเป็นช่ออยู่ตรงส่วนยอดของต้น ช่อหนึ่ง ๆ จะมีดอกขนาดเล็กประมาณ 6 มม. อัดตัวอยู่กันแน่น ดอกมีสีม่วงน้ำเงินหรือขาว มีอยู่ 5 กลีบ ๆ เลี้ยงสีเขียว
 
  ผล ผล จะเป็นรูปเส้นตรงสีดำ ส่วนบนจะมีขนสั้นอยู่ 5 เส้น
 
  สรรพคุณ / การใช้ประโยชน์ - ทั้งต้น ต้มน้ำให้เด็กอาบรักษาอาการเบื่ออาหารในเด็ก ช่วยให้เจริญอาหาร(ปะหล่อง)
ราก เป็นส่วนประกอบในยารักษาโรคตานขโมย(ปะหล่อง)
ใบ ขยี้แล้วนำมาพอกแผลสด เพื่อช่วยห้ามเลือด(กะเหรี่ยงเชียงใหม่)
- ทั้งต้น แก้ไข้ ขับระดู แก้บิด แก้ลม และแก้ช่องทวารหนักหย่อนยาน
ใบ พอกแก้คัน แก้แผลเรื้อรังที่เยื่อเมือก ห้ามเลือด ทาภายนอกแก้ปวดบวม แก้ท้องขึ้นอืดเฟ้อ น้ำต้มกินแก้ไข้ น้ำคั้นใช้หยอดตาแก้ตาเจ็บ เป็นยาทำให้อาเจียน
ราก ใช้ยับยั้งการเจริญเติบโตของก้อนนิ่ว แก้ไข้[1]
- ตำรับยา :
1. แผลเรื้อรังที่เนื้อเยื่อเมือกบวมอักเสบ นำใบสดและยอดมาล้างให้สะอาด ผสมกับเกลือและข้าวหมัก ตำให้เข้ากันแล้วพอกบริเวณที่เป็น
2. ไข้หวัด ใช้ใบสด 60 กรัม ต้มน้ำกิน
3. แผลเรื้อรังมีหนอง ฝี ใช้ใบสดผสมกับน้ำตาลทรายแดงเล็กน้อย แล้วตำพอก
4. ปวดกระดูก ปวดข้อ ใช้ใบสดตำพอก
5. คออักเสบ ใช้ใบสด 30 – 60 กรัม นำมาล้างให้สะอาดเสียก่อนแล้วครั้นเอาแต่น้ำผสมกับน้ำตาลกรวด รับประทานวันละ 3 ครั้ง
6. ตาปลาอักเสบ ปากเป็นแผล ใช้ใบสด 120 กรัมกับกากเมล็ดชา 15 กรัม ผสมกันแล้วตำพอก
7. หูชั้นกลางอักเสบ ใช้ยอดสดคั้นเอาแต่น้ำแล้วหยอด
8. แผลฟกช้ำ มีเลือดออก ใช้ยอดและใบตำพอก [1]
 
  อ้างอิง เต็ม สมิตินันทน์,2544. ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย. ส่วนพฤกษศาสตร์ป่าไม้ สำนักวิชาการป่าไม้ กรมป่าไม้, กรุงเทพฯ.
[1] วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม, 2548. พจนานุกรมสมุนไพรไทย. ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 6. รวมสาส์น (1977) จำกัด. กรุงเทพ ฯ.
 
  สภาพนิเวศ -
 
  เอกสารประกอบ
 
ภาพนิ่ง