ค้นหาสมุนไพร  
     
   
   
   
     
 
   
eherb ผลการค้นหา ผักหนาม
ผักหนาม
Lasia spinosa (L.) Thwaites
 
 
 
 
 
รายละเอียดทางพฤษศาสตร์
 
  วงศ์ Araceae
 
  ชื่อวิทยาศาสตร์ Lasia spinosa (L.) Thwaites
 
  ชื่อไทย ผักหนาม
 
  ชื่อท้องถิ่น ผักหนาม(ไทใหญ่,คนเมือง), บอนหนาม(ขมุ), ผะตู่โปล่,เฮาะตู่คุ(กะเหรี่ยงเชียงใหม่), ด่อแกงเล่อ(ปะหล่อง), บอนหนาม(ไทลื้อ), บ่อนยิ้ม(เมี่ยน), บ่ะหนาม(ลั้วะ)
 
  ลักษณะทาง พฤกษศาสตร์ ผักหนามเป็นไม้ล้มลุก อายุหลายปี ลำต้นทอดเลื้อยและชูยอดขึ้น มีหนาม
 
  ใบ ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปลูกศร หรือขอบใบหยักเว้าลึก ด้านปลาย ขนาด กว้าง 35 ซม. ยาว 45 ซม. ด้านโคนขนาด กว้าง 10 ซม. ยาว 25 ซม. มีหนามบริเวณเส้นใบด้านล่าง ก้านใบยาวได้ถึง 1 เมตร มีหนาม
 
  ดอก ช่อดอก แทงจากกาบใบ ก้านดอกยาวได้ถึง 75 ซม. มีหนาม ใบประดับสีน้ำตาลแกมเขียวถึงสีม่วง ยาวได้ถึง 55 ซม. บิดเป็นเกลียวเล็กน้อย กลีบดอกสีชมพูแล้วเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลแกมเขียว
 
  ผล ผลสด หนาและเหนียว
 
  สรรพคุณ / การใช้ประโยชน์ - ยอดอ่อน นำไปต้มกิน(ไทใหญ่)
ยอดอ่อน รับประทานเป็นผักจิ้มน้ำพริกหรือลาบ(ขมุ)
ยอดอ่อน ประกอบอาหารเช่น แกง(เมี่ยน)
ยอดอ่อน นึ่งเป็นผักจิ้มน้ำพริก(ลั้วะ,ไทลื้อ,ปะหล่อง)
ยอดอ่อน ใช้ประกอบอาหาร เช่น แกงหรือจอลวกกินกับ น้ำพริก
ก้านใบอ่อน ต้มกินกับน้ำพริก ลำต้น สับเป็นชิ้นเล็กๆ ผสมในข้าวสาร แล้วนำไปหุง ช่วย เพิ่มปริมาณ(กะเหรี่ยงเชียงใหม่)
ยอดอ่อน รับประทานเป็นผักจิ้มน้ำพริกหรือใช้ประกอบอาหารเช่น เป็นส่วนผสมในจอผักกูด(คนเมือง)
- ทั้งต้น ใช้รวมกับไม้เปาและไม้จะลานโดยนำไปต้มอาบ และดื่มบำรุงกำลัง แก้อาการปวดเมื่อย(ไทใหญ่)
 
  อ้างอิง เต็ม สมิตินันทน์,2544. ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย. ส่วนพฤกษศาสตร์ป่าไม้ สำนักวิชาการป่าไม้ กรมป่าไม้, กรุงเทพฯ.
[2] สมพร ภูติยานันต์, 2546. สมุนไพรใกล้ตัว เล่ม 6 : สมุนไพรที่เป็นพิษ. วิทยาศาสตร์เภสัชกรรม คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. ตุลย์การพิมพ์, เชียงใหม่.
 
  สภาพนิเวศ ชอบขึ้นตามที่ชื้น เช่น ดินเลนตามชายน้ำ หนองน้ำ หรือริมแมน้ำในปา
 
  เอกสารประกอบ
 
ภาพนิ่ง