|
วงศ์ |
Vitaceae (Leeaceae) |
|
|
ชื่อวิทยาศาสตร์ |
Leea rubra Blume ex Spreng. |
|
|
ชื่อไทย |
เขือง |
|
|
ชื่อท้องถิ่น |
- ลำลิล้วด(ลั้วะ), อึ่งครึ่งเร่น(เร่น=แดง)(ปะหล่อง) - เขือง (ภาคกลาง) [7] |
|
|
ลักษณะทาง พฤกษศาสตร์ |
ไม้พุ่ม ขนาดเล็กกึ่งไม้ล้มลุก สูงได้ถึง 3 ม. หูใบเป็นปีกแคบ ๆ กว้าง 0.3 – 0.5 ซม. ยาว 2 – 4 ซม.
ใบ เป็นใบประกอบแบบขนนก 2 ถึง 4 ชั้น ใบย่อยมีจำนวนมาก แกนกลางใบ ยาวประมาณ 5 – 25 ซม. ใบย่อยรูปไข่ ถึงรูปขอบขนานแกมรูปไข่ กว้าง 1.5 – 4 ซม. ยาว 4 – 8 ซม. ปลายใบแหลมถึงเรียวแหลมสั้น ๆ โคนใบกลมถึงแหลม ขอบใบจักมน ๆ ถึงจักแบบฟันเลื่อยตื้น ๆ เนื้อใบบางและเหนียวคล้ายแผ่นกระดาษ เกลี้ยง หรืออาจจะมีขนเล็กน้อยตามเส้นใบ เส้นใบมี 5 – 10 คู่ อาจมีขนเล็กน้อย ก้านใบย่อยยาว 2 – 5 มม. มักมีปีก ก้านใบประกอบยาว 2 – 8 ซม.
ดอก ออกเป็นช่อแน่น ยาว 8 – 14 ซม. มีขนสีสนิมปกคลุม ริ้วประดับรูปสามเหลี่ยม มองเห็นไม่ชัด ก้านช่อดอกยาว 3 – 8 ซม. แตกกิ่งก้านสาขามากมาย กลีบเลี้ยงโคนเชื่อมติดกัน ปลายแยกเป็นแฉกแหลม 5 แฉก ยาว 2 – 2.5 มม. เกลี้ยง กลีบดอกโคนเชื่อมติดกันเป็นหลอดยาว 2 – 3 มม. ปลายแยกเป็น 5 กลีบ ยาว 1.5 – 2.5 มม. เกสรเพศผู้มี 5 อัน ติดอยู่กับหลอดเกสรเพศผู้ ยาว 1.2 – 2 มม. รังไข่ 1 อัน มี 4 – 6 ช่อง ก้านเกสรเพศเมียยาว 1 – 2 มม.
ผล มีเส้นผ่าศูนย์กลาง 8 – 10 มม. สีแดงเข้ม มี 6 เมล็ด [7] |
|
|
ใบ |
ใบ เป็นใบประกอบแบบขนนก 2 ถึง 4 ชั้น ใบย่อยมีจำนวนมาก แกนกลางใบ ยาวประมาณ 5 – 25 ซม. ใบย่อยรูปไข่ ถึงรูปขอบขนานแกมรูปไข่ กว้าง 1.5 – 4 ซม. ยาว 4 – 8 ซม. ปลายใบแหลมถึงเรียวแหลมสั้น ๆ โคนใบกลมถึงแหลม ขอบใบจักมน ๆ ถึงจักแบบฟันเลื่อยตื้น ๆ เนื้อใบบางและเหนียวคล้ายแผ่นกระดาษ เกลี้ยง หรืออาจจะมีขนเล็กน้อยตามเส้นใบ เส้นใบมี 5 – 10 คู่ อาจมีขนเล็กน้อย ก้านใบย่อยยาว 2 – 5 มม. มักมีปีก ก้านใบประกอบยาว 2 – 8 ซม.
|
|
|
ดอก |
ดอก ออกเป็นช่อแน่น ยาว 8 – 14 ซม. มีขนสีสนิมปกคลุม ริ้วประดับรูปสามเหลี่ยม มองเห็นไม่ชัด ก้านช่อดอกยาว 3 – 8 ซม. แตกกิ่งก้านสาขามากมาย กลีบเลี้ยงโคนเชื่อมติดกัน ปลายแยกเป็นแฉกแหลม 5 แฉก ยาว 2 – 2.5 มม. เกลี้ยง กลีบดอกโคนเชื่อมติดกันเป็นหลอดยาว 2 – 3 มม. ปลายแยกเป็น 5 กลีบ ยาว 1.5 – 2.5 มม. เกสรเพศผู้มี 5 อัน ติดอยู่กับหลอดเกสรเพศผู้ ยาว 1.2 – 2 มม. รังไข่ 1 อัน มี 4 – 6 ช่อง ก้านเกสรเพศเมียยาว 1 – 2 มม.
|
|
|
ผล |
ผล มีเส้นผ่าศูนย์กลาง 8 – 10 มม. สีแดงเข้ม มี 6 เมล็ด [7] |
|
|
สรรพคุณ / การใช้ประโยชน์ |
- รากหรือหัวใต้ดิน นำมาฝนบนหิน แล้วเอามาทาแขนขาบริเวณที่มีแผลอักเสบจนบวม โดยไม่รู้สาเหตุ เชื่อว่าผีมาทำให้มีอาการรุนแรงขึ้น(ปะหล่อง)
- ใบ ใช้ใส่ในตะแหลว สำหรับหมายที่นาเพื่อเป็นการบอกว่าที่นาแห่งนั้นๆมีเจ้าของแล้ว (ปัจจุบันนี้ไม่นิยมทำกันแล้ว)(ลั้วะ)
- ราก ตำเป็นยาพอกโดยผสมกับอาร์เซนิคขาว แก้โรคคุดทะราดและกินน้ำยางจากต้นไปพร้อม ๆ กัน น้ำต้มราก เป็นยาบำรุงธาตุและแก้ปวดท้อง
ใบ และ ราก ต้มน้ำกินเพื่อช่วยให้แผลหายเร็วขึ้น
ต้น ยาชงจากต้นกินแก้บิด
ผล กินแก้บิดและแก้คุดทะราด
เมล็ด ผสมกับน้ำเชื่อม กินเป็นยาขับพยาธิ แต่จะมีอาการมึนเมาเล็กน้อย [7] |
|
|
อ้างอิง |
เต็ม สมิตินันทน์,2544. ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย. ส่วนพฤกษศาสตร์ป่าไม้ สำนักวิชาการป่าไม้ กรมป่าไม้, กรุงเทพฯ.
[7] ก่องกานดา ชยามฤต, 2540. สมุนไพรไทยตอนที่ 6 . ส่วนพฤกษศาสตร์ป่าไม้ สำนักวิชาการป่าไม้ กรมป่าไม้, กรุงเทพฯ. |
|
|
สภาพนิเวศ |
- |
|
|
เอกสารประกอบ |
|