|
วงศ์ |
Leguminosae (Mimosaceae) |
|
|
ชื่อวิทยาศาสตร์ |
Leucaena leucocephala (Lam.) de Wit |
|
|
ชื่อไทย |
กระถิน |
|
|
ชื่อท้องถิ่น |
กระถิน(คนเมือง,ม้ง), โพซุยเซ่(กะเหรี่ยงแม่ฮ่องสอน) |
|
|
ลักษณะทาง พฤกษศาสตร์ |
กระถินเป็นไม้พุ่มขนาดใหญ่ถึงไม้ต้นขนาดเล็ก สูงได้ถึง 10 เมตร ไม่ค่อยแตกกิ่งก้านสาขา |
|
|
ใบ |
ใบเป็นใบประกอบแบบขนนกสองชั้น เรียงสลับ ใบย่อย 5-20 คู่ เรียงตรงข้าม รูปขอบขนาน ขนาดใบกว้าง 0.1-0.15 ซม. ยาว 0.6-2.1 ซม. ปลายใบแหลม โคนใบเบี้ยว ขอบมีขน ท้องใบมีสีนวล |
|
|
ดอก |
ช่อดอกออกเป็นช่อกระจุกแน่นออกตามซอกใบ 1-3 ช่อ เป็นฝอยนุ่มมีกลิ่นหอมเล็กน้อย |
|
|
ผล |
ผลเป็นฝักออกเป็นช่อ ฝักแบนยาวประมาณ 10- 15 ซม. เห็นเมล็ดเป็นจุดๆ ในฝักตลอดฝัก |
|
|
สรรพคุณ / การใช้ประโยชน์ |
- ยอดอ่อน รับประทานสดจิ้มน้ำพริก(คนเมือง)
ยอดอ่อน รับประทานกับกะปิหรือรับประทานกับลาบ(ม้ง)
ยอดอ่อน รับประทานสดและฝักอ่อน ต้มกินกับน้ำพริก(กะเหรี่ยงแม่ฮ่องสอน) |
|
|
อ้างอิง |
เต็ม สมิตินันทน์,2544. ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย. ส่วนพฤกษศาสตร์ป่าไม้ สำนักวิชาการป่าไม้ กรมป่าไม้, กรุงเทพฯ.
[2] สมพร ภูติยานันต์, 2546. สมุนไพรใกล้ตัว เล่ม 6 : สมุนไพรที่เป็นพิษ. วิทยาศาสตร์เภสัชกรรม คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. ตุลย์การพิมพ์, เชียงใหม่. |
|
|
สภาพนิเวศ |
- |
|
|
เอกสารประกอบ |
|