|
วงศ์ |
Lauraceae |
|
|
ชื่อวิทยาศาสตร์ |
Litsea glutinosa (Lour.) C.B. Rob. |
|
|
ชื่อไทย |
หมีเหม็น |
|
|
ชื่อท้องถิ่น |
มะเย้ย(คนเมือง), ลำหญุบหญอ(ลั้วะ), ไม้หมี่(คนเมือง), ไม้ต๊องช้าง(ไทใหญ่) |
|
|
ลักษณะทาง พฤกษศาสตร์ |
ไม้พุ่ม สูง 2 – 5 ม. กิ่งก้านมีสีเทา
ใบ เดี่ยว ออกเรียงสลับ มักจะออกเป็นกลุ่มหนาแน่นที่ปลายกิ่ง ใบรูปรี หรือรูปไข่กลับ หรือค่อนข้างกลม กว้าง 4 – 10 ซม. ยาว 7 – 20 ซม. ปลายใบเรียงแหลมหรือกลม โคนใบสอบเป็นครีบหรือกลม ขอบใบเรียบ หรือเป็นคลื่นเล็กน้อย ด้านบนเกลี้ยงเป็นมัน ด้านล่างมีขน เส้นใบมี 8 – 13 คู่ ด้านล่างเห็นชัดกว่าด้านบน ก้านใบยาว 1 – 2.5 ซม. มีขน ดอก ออกตามง่ามใบเป็นช่อ แบบซี่ร่ม ก้านช่อยาว 2 – 6 ซม. มีขน ใบประดับที่ 4 ใบมีขน ก้านดอกย่อยยาว 5 – 6 มม. มีขน
ดอก แยกเพศ ดอกเพศผู้ ช่อหนึ่งมีประมาณ 8 – 10 ดอก กลีบรวมลดรูปจนเหลือ 1 – 2 กลีบ หรือไม่เหลือเลย กลีบรูปขอบขนาน ขอบกลีบมีขน เกสรเพศผู้มี 9 – 20 อัน เรียงเป็นชั้น ๆ ก้านเกสรมีขน ชั้นในมีต่อมกลม ๆ ที่โคนก้าน ต่อมมีก้าน อับเรณูรูปรี มี 4 ช่อง เกสรเพศเมียเป็นหมันอยู่ตรงกลาง ดอกเพศเมีย กลีบรวมลดรูปจนไม่มี หรือเหลือเพียงเล็กน้อยเกสรเพศผู้เป็นหมันเป็นรูปซ้อน เกสรเพศเมียไม่มีขน รังไข่รูปไข่ ก้านเกสรเพศเมียยาวประมาณ 1 – 2 มม. ปลายเกสรเพศเมียรูปจาน
ผล กลม เมื่ออ่อนสีเขียว เมื่อแก่สีดำ ผิวเป็นมัน ก้านผลมีขน [7] |
|
|
ใบ |
ใบ เดี่ยว ออกเรียงสลับ มักจะออกเป็นกลุ่มหนาแน่นที่ปลายกิ่ง ใบรูปรี หรือรูปไข่กลับ หรือค่อนข้างกลม กว้าง 4 – 10 ซม. ยาว 7 – 20 ซม. ปลายใบเรียงแหลมหรือกลม โคนใบสอบเป็นครีบหรือกลม ขอบใบเรียบ หรือเป็นคลื่นเล็กน้อย ด้านบนเกลี้ยงเป็นมัน ด้านล่างมีขน เส้นใบมี 8 – 13 คู่ ด้านล่างเห็นชัดกว่าด้านบน ก้านใบยาว 1 – 2.5 ซม. มีขน ดอก ออกตามง่ามใบเป็นช่อ แบบซี่ร่ม ก้านช่อยาว 2 – 6 ซม. มีขน ใบประดับที่ 4 ใบมีขน ก้าน |
|
|
ดอก |
ดอกย่อยยาว 5 – 6 มม. มีขน
ดอก แยกเพศ ดอกเพศผู้ ช่อหนึ่งมีประมาณ 8 – 10 ดอก กลีบรวมลดรูปจนเหลือ 1 – 2 กลีบ หรือไม่เหลือเลย กลีบรูปขอบขนาน ขอบกลีบมีขน เกสรเพศผู้มี 9 – 20 อัน เรียงเป็นชั้น ๆ ก้านเกสรมีขน ชั้นในมีต่อมกลม ๆ ที่โคนก้าน ต่อมมีก้าน อับเรณูรูปรี มี 4 ช่อง เกสรเพศเมียเป็นหมันอยู่ตรงกลาง ดอกเพศเมีย กลีบรวมลดรูปจนไม่มี หรือเหลือเพียงเล็กน้อยเกสรเพศผู้เป็นหมันเป็นรูปซ้อน เกสรเพศเมียไม่มีขน รังไข่รูปไข่ ก้านเกสรเพศเมียยาวประมาณ 1 – 2 มม. ปลายเกสรเพศเมียรูปจาน
|
|
|
ผล |
ผล กลม เมื่ออ่อนสีเขียว เมื่อแก่สีดำ ผิวเป็นมัน ก้านผลมีขน [7] |
|
|
สรรพคุณ / การใช้ประโยชน์ |
- ใบ ขยี้แล้วผสมน้ำซาวข้าวใช้สระผม ช่วยป้องกันรังแค และทำให้ผมนุ่ม(คนเมือง)
ใบ ใช้สระผม(ไทใหญ่)
ใบและยอดอ่อน ใช้เป็นส่วนประกอบในน้ำยาสระผมแก้รังแค ซึ่งประกอบด้วย เปลือกต้นเถารางแดง ส้มป่อยหรือมะนาวหรือมะกรูด และน้ำด่าง(น้ำขี้เถ้า) นำมาต้มรวมกันแล้วนำน้ำที่ได้ไปสระผม(คนเมือง)
- เนื้อไม้ ใช้สร้างบ้าน(ลั้วะ)
- ลำต้น ใช้ทำฟืน(ลั้วะ)
- ราก เป็นยาฝาดสมาน และยาบำรุง
ต้น ยางเป็นยาฝากสมานแก้บิด ท้องเสีย กระตุ้นความรู้สึกทางเพศ ทาแก้พิษแมลงกัดต่อย แก้ปวดบดเป็นผงผสมกับน้ำหรือน้ำนม ทาแก้แผลอักเสบ และเป็นยาห้ามเลือด
ใบ มีเยื่อเมือกมากใช้เป็นยาฝาดสมาน และแก้อาการระคายเคืองของผิวหนัง ตำเป็นยาพอกบาดแผลเล็กๆ น้อยๆ
ผล กินได้และให้น้ำมัน เป็นยาถูนวดแก้ปวด rheumatism
เมล็ด ตำเป็นยาพอกฝี [7]
- ราก แก้ปวดกล้ามเนื้อ เป็นยาบำรุง
เปลือกต้น แก้บิด แก้ปวดมดลูก แก้คัน
ใบและเมล็ด ตำพอกฝี แก้ปวด
น้ำมันจากผล ถูนวดแก้ปวด [5] |
|
|
อ้างอิง |
เต็ม สมิตินันทน์,2544. ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย. ส่วนพฤกษศาสตร์ป่าไม้ สำนักวิชาการป่าไม้ กรมป่าไม้, กรุงเทพฯ.
[5] พงษ์ศักดิ์ พลเสนา, 2550. พืชสมุนไพรในสวนป่าสมุนไพรเขาหินซ้อน ฉบับสมบูรณ์. สวนพฤกษศาสตร์ ภาคตะวันออก (เขาหินซ้อน). เจตนารมณ์ภัณฑ์, ปราจีนบุรี.
[7] ก่องกานดา ชยามฤต, 2540. สมุนไพรไทยตอนที่ 6 . ส่วนพฤกษศาสตร์ป่าไม้ สำนักวิชาการป่าไม้ กรมป่าไม้, กรุงเทพฯ. |
|
|
สภาพนิเวศ |
พบในป่าดิบแล้งและป่าเบญจพรรณทั่วไป |
|
|
เอกสารประกอบ |
|