|
|
|
|
พืชตามกลุ่มการใช้ประโยชน์
|
|
|
|
eherb ผลการค้นหา
-
|
-
Ficus semicordata Buch.-Ham. ex Sm. |
|
|
|
|
|
|
|
รายละเอียดทางพฤษศาสตร์ |
|
|
วงศ์ |
Moraceae |
|
|
ชื่อวิทยาศาสตร์ |
Ficus semicordata Buch.-Ham. ex Sm. |
|
|
ชื่อไทย |
เดื่อปล้องหิน, เดื่อฮาก |
|
|
ชื่อท้องถิ่น |
ดั๊วะ(ลั้วะ), สะโกวเดี๋ยง(เมี่ยน), ลำด้อด(ลั้วะ), เส่อดุย(กะเหรี่ยงเชียงใหม่), หมากน้อด(ลั้วะ,ไทใหญ่), เพี๊ยะด้อด(ลั้วะ), เพี๊ยะคอด มะนอด(ลั้วะ), ละโท้ด(ขมุ), มะน่อด(ไทลื้อ), กะดุ่ยซะ(กะเหรี่ยงเชียงใหม่) |
|
|
ลักษณะทาง พฤกษศาสตร์ |
เดื่อปล้องหิน เป็นไม้พุ่มหรือไม้ต้นขนาดเล็ก สูง 3-10 เมตร เปลือกนอกแตกเป็นแผ่น หรือหลุดเป็นสะเก็ด สีน้ำตาลเทา เปลือกในสีชมพู มีน้ำยางสีขาวข้นและเหนียว |
|
|
ใบ |
ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปรีแกมรูปขอบขนาน กว้าง 5-9 ซม. ยาว 15-28 ซม. ปลายใบเรียวแหลม โคนใบเบี้ยวคล้ายรูปหัวใจ ขอบจักซี่ฟันละเอียด ผิวใบมีขนหยาบทั้งสองด้าน กิ่งต้นอ่อนกลวง |
|
|
ดอก |
ช่อดอกห้อยลงตามลำต้นและกิ่ง ค่อนข้างกลม |
|
|
ผล |
ผลกลุ่ม เมื่ออ่อนสีเขียว มีจุดสีชมพูกระจายทั่วผิว ผลสุกสีแดงปนชมพู เนื้อในสีขาวอมเหลือง
ในชุมชนมี 2 ชนิด คือ มะหน๊อดตัวผู้(ผลออกตามกิ่ง มักมีแมลงและมดอยู่ในผลจึงไม่นิยมกิน) และมะหน๊อดตัวเมีย(ผลออกกิ่งเหนือราก)
|
|
|
สรรพคุณ / การใช้ประโยชน์ |
- ยอดอ่อน นำไปเผาไฟแล้วรับประทานเป็นผักจิ้มน้ำพริก(ลั้วะ)
ผลสุก รับประทานได้(ลั้วะ,เมี่ยน,ไทใหญ่,กะเหรี่ยงเชียงใหม่,ไทลื้อ,ขมุ)
- ส่วนที่เป็นกิ่งคล้ายราก นำมาลอกเปลือกเอาไปทำเป็นเชือก(ลั้วะ)
เปลือกต้น ลอกออกแล้วใช้ทำเชือกมัดของ(ลั้วะ)
- ใบ นำไปตากแห้งแล้วต้มน้ำดื่มแทนน้ำชา มีรสชาติฝาดหรือใช้ ต้มน้ำร่วมกับ ใบช่านโฟว(ว่านน้ำเล็ก) ลำต้นป้วงเดียตม เครือไฮ่ มวย ต้นถ้าทางเมีย ต้นเดี่ยปวง(สามร้อยยอด) ใบอิ่มบั๊วะ(หนาด หลวง) ใบจ้ากิ่งยั้ง(ก้านเหลือง) ใบทิ่นหุ้งจา(ฝ่าแป้ง)ให้สตรี หลัง คลอดบุตรที่อยู่ไฟอาบเพื่อช่วยให้มดลูกเข้าอู่เร็วขึ้น(ถ้าหา สมุนไพรได้ไม่ครบก็ให้ใช้เท่าที่หาได้)(เมี่ยน)
- ลำต้น ใช้ทำฟืน(ขมุ) |
|
|
อ้างอิง |
เต็ม สมิตินันทน์,2544. ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย. ส่วนพฤกษศาสตร์ป่าไม้ สำนักวิชาการป่าไม้ กรมป่าไม้, กรุงเทพฯ.
|
|
|
สภาพนิเวศ |
พบทั่วไปในที่โล่งแจ้งทั่วไป ที่ความสูง 50-1000 เมตร เหนือระดับน้ำทะเล |
|
|
เอกสารประกอบ |
|
|
|
ภาพนิ่ง |
|
|
|
|
|
|
|
|