|
วงศ์ |
Salicaceae (Flacourtiaceae) |
|
|
ชื่อวิทยาศาสตร์ |
Flacourtia indica (Burm.f.) Merr. |
|
|
ชื่อไทย |
ตะขบป่า, มะเกว๋น |
|
|
ชื่อท้องถิ่น |
ตะเพซะ(กะเหรี่ยงเชียงใหม่), มะเกว๋น(เมี่ยน,คนเมือง), ลำเกว๋น(ลั้วะ), บีหล่อเหมาะ(กะเหรี่ยงแดง), ตุ๊ดตึ๊น(ขมุ) |
|
|
ลักษณะทาง พฤกษศาสตร์ |
มะเกว๋นเป็นไม้ยืนต้น ขนาดกลาง สูง 7-10 เมตร ลำต้นมีเปลือกสีน้ำตาล กิ่งก้านจะ อ่อนห้อยลู่ลง |
|
|
ใบ |
ใบเดี่ยวออกสลับ ใบมีรูปร่างหลายแบบ ทั้งรูปขอบขนานรี รูปไข่ หรือไข่กลับ |
|
|
ดอก |
ดอกออกเป็นช่อแบบกระจะที่ปลายยอด มีดอกย่อย 4-6 ดอก ดอกเพศผู้และเพศเมียแยกกันอยู่คนละต้น เกสรตัวผู้มีจำนวนมาก ดอกเพศเมียมีกลีบเลี้ยงคล้ายดอกเพศผู้ |
|
|
ผล |
ผลรูปกลมรี เนื้อเละ เมล็ดจำนวนมาก ผลสุกมีสีดำหรือแดง |
|
|
สรรพคุณ / การใช้ประโยชน์ |
- ผลสุก รับประทานได้(เมี่ยน,คนเมือง,กะเหรี่ยงแดง,ลั้วะ,ขมุ)
- ราก ต้มน้ำดื่มแก้อาการปวดเมื่อย(กะเหรี่ยงเชียงใหม่)
- เนื้อไม้ ใช้สร้างบ้าน เป็นโครงสร้างต่างๆ ของบ้าน เช่น เสาบ้าน(ลั้วะ) |
|
|
อ้างอิง |
เต็ม สมิตินันทน์,2544. ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย. ส่วนพฤกษศาสตร์ป่าไม้ สำนักวิชาการป่าไม้ กรมป่าไม้, กรุงเทพฯ.
|
|
|
สภาพนิเวศ |
พบในป่าโปร่งทั่วไป ชอบพื้นที่กลางแจ้ง ทนแล้งและน้ำท่วมขังได้ดี |
|
|
เอกสารประกอบ |
|