|
วงศ์ |
Leguminosae (LEGUMINOSAE-CAESALPINIOIDEAE) |
|
|
ชื่อวิทยาศาสตร์ |
Afzelia xylocarpa (Kurz) Craib |
|
|
ชื่อไทย |
มะค่าโมง |
|
|
ชื่อท้องถิ่น |
ไม้ค่า(ม้ง), มะค่า(เมี่ยน,คนเมือง,ไทลื้อ) |
|
|
ลักษณะทาง พฤกษศาสตร์ |
มะค่าเป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ สูงได้ถึง 30 เมตร |
|
|
ใบ |
ใบประกอบแบบขนนก เรียงสลับ ใบย่อย 3-5 คู่ รูปไข่แกมขอบขนาน กว้าง 4-5 ซม. ยาว 5-9 ซม. |
|
|
ดอก |
ช่อดอก ออกที่ปลายกิ่ง กลีบเลี้ยงสีเขียว 4 กลีบ กลีบดอกสีชมพู 1 กลีบ |
|
|
ผล |
ผลเป็นฝักแบน เปลือกแข็งและหนา สีน้ำตาล เมล็ดแข็งสีน้ำตาล มีเยื่อสีส้ม |
|
|
สรรพคุณ / การใช้ประโยชน์ |
- ฝักอ่อน ต้มเป็นผักจิ้มน้ำพริก, ใบอ่อน รับประทานกับลาบ(เมี่ยน)
ฝักอ่อน ต้มรับประทานเมล็ด(คนเมือง)
- เนื้อในเมล็ด นำไปหั่นเป็นฝอยแล้วชงน้ำให้คนป่วยที่มีอาการ อาเจียนไม่หยุดดื่มเป็นยาแก้อาเจียน(ม้ง)
เมล็ดแก่ ผ่าครึ่งแล้วใช้กดบริเวณที่ถูกแมลงกัดต่อยช่วยดูด พิษ(คนเมือง)
- เนื้อไม้ ใช้สร้างบ้าน(เมี่ยน,ม้ง,ไทลื้อ)
เนื้อไม้ ใช้ทำรั้ว สร้างบ้านหรือใช้ทำเฟอร์นิเจอร์(คนเมือง) |
|
|
อ้างอิง |
เต็ม สมิตินันทน์,2544. ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย. ส่วนพฤกษศาสตร์ป่าไม้ สำนักวิชาการป่าไม้ กรมป่าไม้, กรุงเทพฯ.
|
|
|
สภาพนิเวศ |
พบในป่าเบญจพรรณชื้นและป่าดิบแล้งใกล้แหล่งน้ำ สูง 100-600 เมตร เหนือระดับน้ำทะเล ทุกภาคยกเว้นภาคใต้ ขึ้นได้ในดินทุกชนิด แต่ชอบดินร่วน |
|
|
เอกสารประกอบ |
|