|
วงศ์ |
Leguminosae (Papilionaceae) |
|
|
ชื่อวิทยาศาสตร์ |
Flemingia stricta Roxb. ex W.T. Aiton |
|
|
ชื่อไทย |
หางเสือ |
|
|
ชื่อท้องถิ่น |
มะแฮะเลือด(คนเมือง), กาสามปีก(คนเมือง), ฮ่าเดีย(เมี่ยน) |
|
|
ลักษณะทาง พฤกษศาสตร์ |
เป็นไม้พุ่ม ลำต้นตั้งตรง สูง 1-3.5 เมตร ทั้งต้นมีขนปกคลุม ใบประกอบแบบขนนก มีใบย่อย 3 ใบ เรียงสลับ ใบย่อยรูปขอบขนานแกมใบหอก ผิวใบทั้งสองด้านมีขน กว้าง 1-3.5 ซม. ยาว 1.5-10 ซม. ปลายใบเรียวแหลม โคนแหลมและเบี้ยว ผิวสาก ก้านใบใหญ่และแบน ช่อดอกออกที่ซอกใบ รูปดอกถั่ว กลีบดอกสีน้ำตาลแดง ผลเป็นฝักแบนยาวเป็นห้อง ลักษณะโป่งพอง สีน้ำตาล |
|
|
ใบ |
- |
|
|
ดอก |
- |
|
|
ผล |
- |
|
|
สรรพคุณ / การใช้ประโยชน์ |
- ใบ นำไปต้มดื่มเป็นยาบำรุงกำลัง หรือรักษาโรคนิ่ว(คนเมือง)
ราก ต้มน้ำดื่มรักษาโรคริดสีดวงหรือแก้อาการปวดเมื่อย(คนเมือง)
ทั้งต้น ตากแห้งแล้วใช้ต้มน้ำดื่มเป็นยาแก้ไอ(เมี่ยน) |
|
|
อ้างอิง |
เต็ม สมิตินันทน์,2544. ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย. ส่วนพฤกษศาสตร์ป่าไม้ สำนักวิชาการป่าไม้ กรมป่าไม้, กรุงเทพฯ.
อัปสรและคณะ. 2553. พืชอาหารและสมุนไพรท้องถิ่นบนพื้นที่สูง บ้านโป่งคำ. สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน). 396 หน้า
|
|
|
สภาพนิเวศ |
พบในป่าเบญจพรรณทั่วไป ชอบดินร่วน ระบายน้ำดี มีแสงแดดตลอดวัน |
|
|
เอกสารประกอบ |
|