|
วงศ์ |
Clusiaceae |
|
|
ชื่อวิทยาศาสตร์ |
Garcinia cowa Roxb. ex Choisy (Syn. Garcinia cowa Roxb. ex DC.) |
|
|
ชื่อไทย |
ชะมวง |
|
|
ชื่อท้องถิ่น |
- ส้มป้อง(คนเมือง), มะป่อง(คนเมือง) - ส้มมวง (ภาคใต้), ชะมวง (ไทยกลางและตะวันออก) [1] |
|
|
ลักษณะทาง พฤกษศาสตร์ |
ต้น เป็นพรรณไม้ยืนต้นมีขนาดย่อยจนถึงขนาดกลาง
ใบ จะมีลักษณะแข็งและยาวหนา คล้ายกับใบมะดัน
ดอก ดอกนั้นเล็ก กลีบดอกจะแข็งเช่นมะดันสีนวลเหลือง และมีกลิ่นหอม ดอกจะดกมาก ใหญ่ประมาณ 10-15 มม. [1] |
|
|
ใบ |
ใบ จะมีลักษณะแข็งและยาวหนา คล้ายกับใบมะดัน |
|
|
ดอก |
ดอก ดอกนั้นเล็ก กลีบดอกจะแข็งเช่นมะดันสีนวลเหลือง และมีกลิ่นหอม ดอกจะดกมาก ใหญ่ประมาณ 10-15 มม. [1] |
|
|
ผล |
- |
|
|
สรรพคุณ / การใช้ประโยชน์ |
- ผล รับประทานได้, ยอดอ่อน รับประทานเป็นผักจิ้มน้ำพริก(คนเมือง)
ผล สุกสีเหลือง รับประทานได้ มีรสเปรี้ยวอมหวาน มียาง(คนเมือง)
- ใบและดอก ใช้เป็นยาระบายท้อง รักษาโรคไข้กัดฟอกเสมหะ รักษาธาตุพิการ นอกจากนี้ผลและใบอ่อนยังใช้ปรุงเป็นอาหารกิน จะมีรสเปรี้ยวคล้ายมะดัน ถ้ากินมากๆจะทำให้ท้องระบายคล้ายดอกขี้เหล็ก [1] |
|
|
อ้างอิง |
เต็ม สมิตินันทน์,2544. ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย. ส่วนพฤกษศาสตร์ป่าไม้ สำนักวิชาการป่าไม้ กรมป่าไม้, กรุงเทพฯ.
[1] วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม, 2548. พจนานุกรมสมุนไพรไทย. ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 6. รวมสาส์น (1977) จำกัด. กรุงเทพ ฯ. |
|
|
สภาพนิเวศ |
กระจายพันธุ์ในป่าดิบชื้นที่ลุ่มต่ำทั่วไป พบมากในภาคใต้และภาคตะวันออกเฉียงใต้ ที่ความสูง 800 เมตรขึ้นไป เหนือระดับทะเล |
|
|
เอกสารประกอบ |
|