|
วงศ์ |
Rutaceae |
|
|
ชื่อวิทยาศาสตร์ |
Aegle marmelos (L.) Corrêa ex Roxb. |
|
|
ชื่อไทย |
มะตูม |
|
|
ชื่อท้องถิ่น |
มะบิน(คนเมือง) |
|
|
ลักษณะทาง พฤกษศาสตร์ |
ไม้ยืนต้นขนาดกลางให้ร่มเงาได้ดี ลำต้นและกิ่งมีหนามแข็งตรงยาวประมาณ 1 นิ้ว
ใบ ใบประกอบมีใบย่อย 3 ใบ ใบย่อยมีรูปร่างเป็นรูปไข่ ดอกมะตูมสีขาวหอม มะตูมมี 3 พันธุ์ แบ่งตามลักษณะของผล [3] |
|
|
ใบ |
ใบ ใบประกอบมีใบย่อย 3 ใบ ใบย่อยมีรูปร่างเป็นรูปไข่ |
|
|
ดอก |
ดอกมะตูมสีขาวหอม |
|
|
ผล |
มะตูมมี 3 พันธุ์ แบ่งตามลักษณะของผล |
|
|
สรรพคุณ / การใช้ประโยชน์ |
- ยอดอ่อน รับประทานสดกับลาบ หรือนำไปยำ(คนเมือง)
- ยาง ใช้แทนกาว(คนเมือง)
- ใบอ่อนรับประทานเป็นผักได้และใช้ผสมในแกงบอนเป็นยาบำรุงธาตุเจริญอาหาร แก้โรคลำไส้ เนื่องจากมีสารเมือก (mucilage), เพกทิน (pectin) และสารที่มีรสขม พิธีทางไสยศาสตร์ใช้ใบมะตูมทัดหูเพื่อเป็นศิริมงคลและเป็นไม้ชนิดหนึ่งในแปดชนิดที่เป็นไม้มงคล พันธุ์ที่นิยมบริโภคคือ มะตูมไข่ ผลมีรูปร่างคล้ายลูกมะขวิดเป็นรูปไข่ ขนาดประมาณ 10-14 ซม. เปลือกแข็งผลอ่อนฝานเป็นชิ้นบางๆ สดหรือแห้งชงน้ำรับประทานแก้ท้องเสีย ฝาดสมาน เจริญอาหารเป็นยาธาตุและโรคลำไส้เรื้อรังในเด็ก โดยใช้ความแรง 1 ใน 10 ดื่มครั้งละ 20-30 มล. หรือขงน้ำดื่มแทนน้ำชา ผลแก่ที่ยังไม่สุกฝานชิ้นหนาประมาณ 1 ซม. เชื่อมกับน้ำตาลเป็นของหวานมีกลิ่นหอมชวนรับประทาน แก้บิด ผลแก่สุกรับประทานเป็นผลไม้ หรือขุดเปลือกให้เกลี้ยงทุบให้เปลือกแตกต้มทั้งลูกกับน้ำตาลแดง มีสรรพคุณเป็นยาระบาย เหมาะสำหรับผู้สูงอายุหรือผู้ที่ท้องผูกเป็นประจำ ช่วยขับผายลม แก้ร้อนใน และเพกทินในผลมะตูมมีฤทธิ์ฆ่าเชื้อโรคในลำไส้ได้ยางมีหุ้มรอบเมล็ดมีความเหนียวเป็นกาวได้ [3] |
|
|
อ้างอิง |
เต็ม สมิตินันทน์,2544. ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย. ส่วนพฤกษศาสตร์ป่าไม้ สำนักวิชาการป่าไม้ กรมป่าไม้, กรุงเทพฯ.
[3] สมพร ภูติยานันต์, 2551. สมุนไพรใกล้ตัว เล่ม 13 : สมุนไพรแต่งสี กลิ่น รส. วิทยาศาสตร์เภสัชกรรม คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. ตุลย์การพิมพ์, เชียงใหม่. |
|
|
สภาพนิเวศ |
เกิดในป่าดงทั่วไป โดยเฉพาะป่าเบญจพรรณ เจริญงอกงามได้ในดินทั่วไป |
|
|
เอกสารประกอบ |
|