ค้นหาสมุนไพร  
     
   
   
   
     
 
   
eherb ผลการค้นหา ตะคร้ำ, หวีด
ตะคร้ำ, หวีด
Garuga pinnata Roxb.
 
 
 
 
 
รายละเอียดทางพฤษศาสตร์
 
  วงศ์ Burseraceae (Rubiaceae)
 
  ชื่อวิทยาศาสตร์ Garuga pinnata Roxb.
 
  ชื่อไทย ตะคร้ำ, หวีด
 
  ชื่อท้องถิ่น - กระโหม๊ะ(ขมุ), ลำคร้ำ(ลั้วะ), เก๊าค้ำ(คนเมือง), ไม้หวิด,ไม้ค้ำ(คนเมือง), กระโหม๊ะ(ขมุ), ลำเมาะ(ลั้วะ), เก๊าค้ำ(คนเมือง), เจี้ยนต้องแหงง(เมี่ยน), ไม้ค้ำ(ไทใหญ่) - อ้อยนำ (จันทบุรี), ค้ำ, หวีด, กะตีบ, แขกเต้า (เหนือ), ปีชะออง (กะเหรียง-กาญจนบุรี) [1]
 
  ลักษณะทาง พฤกษศาสตร์ ต้น เป็นพรรณไม้ยืนต้น แตกกิ่งก้านสาขารอบๆ เรือนยอดของต้น และตามกิ่งอ่อนจะมีขนปกคลุมอยู่ มีเปลือกสีเทา ลำต้นสูงประมาณ 10-15 เมตร
ใบ เป็นไม้ใบรวมแบบใบขนนก ก้านหนึ่งจะมีใบย่อยอยู่ประมาณ 9-10 คู่ และยาวประมาณ 10-12 นิ้ว ลักษณะของใบรูปมนรี ปลายใบแหลมและมีติ่ง ตรงปลายก้านจะมีใบเพียงใบเดียว เมื่อยังอ่อนจะมีขนปกคลุม แต่พอโตเต็มที่แล้วขนก็จะหลุดร่วงไป มีสีเขียว
ดอก ออกเป็นช่อตามส่วนยอดของต้น ช่อดอกยาวประมาณ 6 นิ้ว ดอกเป็นรูประฆัง ปลายดอกแยกออกเป็น 5 กลีบและมีขนมีสีครีม สีเหลืองหรือชมพู
ผล เป็นลูกกลมๆ มีเมล็ดอยู่ภายในสีเขียวอมเหลือง แก่จัดเป็นสีดำ ผลมีเนื้อนุ่มแต่ภายในมีผิวแข็งหุ้ม [1]
 
  ใบ ใบ เป็นไม้ใบรวมแบบใบขนนก ก้านหนึ่งจะมีใบย่อยอยู่ประมาณ 9-10 คู่ และยาวประมาณ 10-12 นิ้ว ลักษณะของใบรูปมนรี ปลายใบแหลมและมีติ่ง ตรงปลายก้านจะมีใบเพียงใบเดียว เมื่อยังอ่อนจะมีขนปกคลุม แต่พอโตเต็มที่แล้วขนก็จะหลุดร่วงไป มีสีเขียว
 
  ดอก ดอก ออกเป็นช่อตามส่วนยอดของต้น ช่อดอกยาวประมาณ 6 นิ้ว ดอกเป็นรูประฆัง ปลายดอกแยกออกเป็น 5 กลีบและมีขนมีสีครีม สีเหลืองหรือชมพู
 
  ผล ผล เป็นลูกกลมๆ มีเมล็ดอยู่ภายในสีเขียวอมเหลือง แก่จัดเป็นสีดำ ผลมีเนื้อนุ่มแต่ภายในมีผิวแข็งหุ้ม [1]
 
  สรรพคุณ / การใช้ประโยชน์ - ผลสุก รับประทานได้, เปลือกต้น ขูดใส่ลาบ(ขมุ)
เปลือกต้น ขูดเป็นฝอยแล้วใช้เป็นส่วนผสมในการทำลาบได้(ลั้วะ,ไทใหญ่,คนเมือง,เมี่ยน)
เปลือกต้น ขูดเป็นฝอย แล้วนำไปใส่อาหารประเภท ห่อนึ่ง หรือนำไปแกง เช่น แกงปลาไหล มีรสฝาด(คนเมือง)
- เปลือกต้น ใช้ฝนใส่น้ำร่วมกับเปลือกต้นมะกอกและ ตะคร้อดื่มแก้อาการปวดท้อง(คนเมือง)
เปลือกต้น นำไปแช่น้ำ ให้เด็กทารกอาบ ป้องกันไม่ให้ผิวหนังมีผื่นหรือตุ่มขึ้น(คนเมือง)
- เนื้อไม้ ใช้สร้างบ้าน(ลั้วะ,ขมุ)
- ใบ ใช้มัดเสาเอกของบ้านเพื่อความเป็นสิริมงคลช่วยค้ำชู(คนเมือง)
- น้ำคันจากลำต้น หยอดตา แก้ตามัว น้ำฝาดจากเปลือก แก้บิด แก้อักเสบบวม รักษาแผลติดเชื้อ แผลเป็นหนอง ฝีหรือ ตุ่ม ห้ามเลือดและแก้ตามัว น้ำคันจากใบ รักษาโรคหิต ผล บำรุงธาตุ บำรุงกระเพาะอาหาร [5]
- ใบ นำเอาใบสด มาคั้นเอาน้ำแล้วนำไปผสมกับน้ำผึ้ง เพื่อใช้เป็นยารักษาโรคหืด
ผล ทานเป็นยาบำรุงธาตุ หรือบำรุงกระเพาะอาหาร
เปลือกต้น นำมาบีบเพื่อเอาน้ำ ซึ่งใช้เป็นยาแก้โรคท้องร่วงหรือทานแก้บิดก็ได้ หรืออาจนำมาแช่น้ำเป็นยาล้างแผลเรื้อรังได้ดีมาก ถ้าใช้ทาภายนอกจะเป็นยาห้ามเลือด
ต้น นำต้นสดๆ มาคั้นเอาน้ำ แล้วใช้เป็นยาหยอดตาแก้ตามัวเนื่องจากเยื่อตาอักเสบ [1]
 
  อ้างอิง เต็ม สมิตินันทน์,2544. ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย. ส่วนพฤกษศาสตร์ป่าไม้ สำนักวิชาการป่าไม้ กรมป่าไม้, กรุงเทพฯ.
[1] วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม, 2548. พจนานุกรมสมุนไพรไทย. ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 6. รวมสาส์น (1977) จำกัด. กรุงเทพ ฯ.
[5] พงษ์ศักดิ์ พลเสนา, 2550. พืชสมุนไพรในสวนป่าสมุนไพรเขาหินซ้อน ฉบับสมบูรณ์. สวนพฤกษศาสตร์ ภาคตะวันออก (เขาหินซ้อน). เจตนารมณ์ภัณฑ์, ปราจีนบุรี.
 
  สภาพนิเวศ -
 
  เอกสารประกอบ
 
ภาพนิ่ง