|
|
|
|
พืชตามกลุ่มการใช้ประโยชน์
|
|
|
|
eherb ผลการค้นหา
- Soya Bean, Soybean [3]
|
- Soya Bean, Soybean [3]
Glycine max (L.) Merr. |
|
|
|
|
|
|
|
รายละเอียดทางพฤษศาสตร์ |
|
|
วงศ์ |
Papilionaceae |
|
|
ชื่อวิทยาศาสตร์ |
Glycine max (L.) Merr. |
|
|
ชื่อไทย |
ถั่วเหลือง |
|
|
ชื่อท้องถิ่น |
- อาทรึ่ม(ปะหล่อง), ตบยั่ง(เมี่ยน), เถ๊าะหน่อ(กะเหรี่ยงเชียงใหม่) - ถั่วพระเหลือง, ถั่วแระ, ถั่วเหลือง ถั่วแม่ตาย (ภาคกลาง),โซยาบีน (อังกฤษ),มะถั่วเน่า, ถั่วเน่า, ถั่วหนัง (ภาคเหนือ), อึ่งตั่วเต่า, เฮ็กตั้วเต่า (จีน- แต้จิ๋ว), โชยุ (ญี่ปุ่น) [3] |
|
|
ลักษณะทาง พฤกษศาสตร์ |
ถั่วเหลืองเป็นพืชล้มลุก ลำต้นเป็นสี่แหลี่ยม สูงประมาณ 1-2 ม. มีขนยาวคลุมอยู่ทุกส่วนของลำต้น
ใบ ประกอบมีใบย่อย 3 ใบ รูปร่างคล้ายรูปไข่ ปลายแหลม ใบมีขนทั้งด้านบนและล่าง ก้านใบยาว
ดอก ช่อมีดอกย่อย 2-10 ดอก ดอกเล็ก สีขาวอมม่วง
ฝัก แบบยาวปกคลุมด้วยขนสีเหลือง มีเมล็ด 2-3 เมล็ด รูปไข่ กลมรี [3] |
|
|
ใบ |
- |
|
|
ดอก |
- |
|
|
ผล |
- |
|
|
สรรพคุณ / การใช้ประโยชน์ |
- เมล็ด ใช้ทำขนม(เมี่ยน)
- เมล็ด เก็บไว้หมักทำถั่วเน่าเพื่อเก็บไว้ปรุงรสชาติของ อาหารประเภทต่างๆ เช่น แกง น้ำพริก(กะเหรี่ยงเชียงใหม่)น้ำต้มเมล็ดถั่วเหลือง ใช้สระผมได้(ปะหล่อง)
- สรรพคุณความเชื่อ
ดอกสดเป็นยารักษาต้อกระจก
ใบสดต้มน้ำดื่มรักษาเลือดออก ใช้เป็นยารักษาภายนอก ตำพอกรักษาคนที่ถูกงูกัด วันละ 3 ครั้ง
เมล็ดรสมันแห้งประมาณ 30-90 ก. ต้มกิน บำรุงม้าม หล่อลื่นลำไส้เป็นยาระบาย ขับปัสสาวะ แก้ตานขโมย แก้บิด แก้สตรีมีครรภ์โดนพิษเฉียบพลัน แก้บาดแผลภายนอกมีเลือดออก
เปลือกเมล็ดแห้งประมาณ 10-15 ก. ต้มน้ำเป็นยาบำรุงโลหิต ขับปัสสาวะ บรรเทาอาการเหงื่อออกมาก ปวดศีรษะและแผลเน่าเปื่อย
กากเมล็ด ที่เหลือกจากการบีบน้ำมันมีปริมาณโปรตีนสูงใช้เป็นอาหารเลี้ยงสัตว์ได้ และใช้กินแทนเนื้อสัตว์ ป้องกันการอุดตันของไขมันในเส้นเลือด
อาหารที่ทำจากเมล็ดถั่วเหลือง แต่งรสมันทั้งอาหารคาวและหวาน เช่น เต้าเจี้ยว ซีอิ้ว ซ้อส น้ำมันถั่วเหลือง เนื้อสัตว์เทียม เต้าหู้ นมถั่วแหลือง (น้ำเต้าหู้) ถั่วงอกหัวโต แป้งถั่วเหลือง โปรตีนเกษตร เต้าหู้ยี้ เป็นต้น [3] |
|
|
อ้างอิง |
เต็ม สมิตินันทน์,2544. ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย. ส่วนพฤกษศาสตร์ป่าไม้ สำนักวิชาการป่าไม้ กรมป่าไม้, กรุงเทพฯ.
[3] สมพร ภูติยานันต์, 2551. สมุนไพรใกล้ตัว เล่ม 13 : สมุนไพรแต่งสี กลิ่น รส. วิทยาศาสตร์เภสัชกรรม คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. ตุลย์การพิมพ์, เชียงใหม่. |
|
|
สภาพนิเวศ |
- |
|
|
เอกสารประกอบ |
|
|
|
ภาพนิ่ง |
|
|
|
|
|
|
|
|