ค้นหาสมุนไพร  
     
   
   
   
     
 
   
eherb ผลการค้นหา เมื่อย, มะเมื่อย
เมื่อย, มะเมื่อย
Gnetum montanum Markgr.
 
 
 
 
 
รายละเอียดทางพฤษศาสตร์
 
  วงศ์ Gnetaceae
 
  ชื่อวิทยาศาสตร์ Gnetum montanum Markgr.
 
  ชื่อไทย เมื่อย, มะเมื่อย
 
  ชื่อท้องถิ่น -
 
  ลักษณะทาง พฤกษศาสตร์ ไม้เถา เนื้อแข็ง กิ่งเป็นข้อต่อกันและข้อบวมพอง
ใบ เดี่ยว เรียงเป็นคู่สลับตั้งฉาก ใบรูปไข่ถึงรูปขอบขนานแกมรูปไข่ มีขนาดแตกต่างกันมาก แต่กว้างไม่เกิน 12 ซม. ยาวไม่เกิน 20 ซม. ปลายใบเป็นติ่งแหลม โคนใบกลม มน หรือ แหลม ขอบใบเรียบ เนื้อใบแข็งหนา หรือค่อนข้างหนา เมื่อแห้งสีออกดำ เส้นใบโค้ง ก้านใบยาว 1 – 1.5 ซม.
ดอก ออกเป็นช่อที่ปลายยอดและตามลำต้น ช่อดอกแตกกิ่งก้านสาขามาก แยกเป็นช่อดอกเพศผู้และเพศเมีย ดอกเรียงเป็นชั้น ๆ รอบแกนกลาง ช่อดอกเพศผู้ กว้างประมาณ 0.4 ซม. ยาวประมาณ 3 ซม. แต่ละชั้นมีประมาณ 20 ดอก ช่อดอกเพศเมีย แต่ละชั้นมี 5 – 7 ดอก
ผล รูปรี กว้างประมาณ 1 ซม. ยาว 1.5 ซม. เมื่อสุกสีแดง ก้านผลอ้วน ยาวประมาณ 0.2 ซม.[7]
 
  ใบ -
 
  ดอก -
 
  ผล -
 
  สรรพคุณ / การใช้ประโยชน์ - ผลสุก ต้มแล้วนำมารับประทานได้(ขมุ)
- เครือ ใช้ทำสายหน้าไม้ มีความเหนียวมาก(ขมุ,เมี่ยน)
- ราก น้ำต้มรากกินแก้พิษบางชนิด และแก้ไข้มาลาเรีย [7]
 
  อ้างอิง เต็ม สมิตินันทน์,2544. ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย. ส่วนพฤกษศาสตร์ป่าไม้ สำนักวิชาการป่าไม้ กรมป่าไม้, กรุงเทพฯ.
[7] ก่องกานดา ชยามฤต, 2540. สมุนไพรไทยตอนที่ 6 . ส่วนพฤกษศาสตร์ป่าไม้ สำนักวิชาการป่าไม้ กรมป่าไม้, กรุงเทพฯ.
 
  สภาพนิเวศ -
 
  เอกสารประกอบ
 
ภาพนิ่ง