ค้นหาสมุนไพร  
     
   
   
   
     
 
   
eherb ผลการค้นหา ฝ้าย
ฝ้าย
Gossypium sp.
 
 
 
 
 
รายละเอียดทางพฤษศาสตร์
 
  วงศ์ Malvaceae
 
  ชื่อวิทยาศาสตร์ Gossypium sp.
 
  ชื่อไทย ฝ้าย
 
  ชื่อท้องถิ่น ไฮ่เซ่ง(ปะหล่อง), ตะแพเหมาะ(กะเหรี่ยงแดง)
 
  ลักษณะทาง พฤกษศาสตร์ ฝ้ายเป็นไม้พุ่มขนาดกลาง สูง 0.6-1.5 เมตร แตกกิ่งเวียนรอบต้น
 
  ใบ ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปฝ่ามือ มี 5-7 แฉก ก้านใบยาว ใบ ก้านใบและลำต้นมีขนสั้นปกคลุม มีหูใบที่โคนก้านใบ 2 อัน
 
  ดอก ดอกออกที่ข้อเหนือโคนใบ มีกลีบเลี้ยงเป็นแฉกๆ และลึก รูปร่างสามเหลี่ยม มี 3 กลีบ กลีบดอกสีขาวนวลถึงสีเหลือง มี 5 กลีบ เรียงซ้อนกัน โคนกลีบสีม่วง เกสรเพศผู้จำนวนมาก มัดรวมกันเป็น 1 มัด
 
  ผล ผลฝ้าย เรียกสมอฝ้าย เป็นผลแห้ง แตกได้ ภายในมีปุยฝ้ายสีขาว หยาบ และปุยติดเมล็ดแน่น ในชุมชนมีฝ้าย 2 ชนิด คือ ฝ้ายแกนแพ มีลักษณะปุยฝ้ายทั้ง 3 แกน ไม่แตกหรือแยกออกจากกัน และฝ้ายขี้หนู ที่มีลักษณะเนื้อในเมล็ดคล้ายเม็ดขี้หนู

 
  สรรพคุณ / การใช้ประโยชน์ - ใบอ่อน รับประทานสดกับน้ำพริก(กะเหรี่ยงแดง)
- ปุยที่เมล็ด ใช้ยัดหมอน และที่นอน หรือใช้แทนสำลี(ปะหล่อง)
ใยจากผล นำไปทอผ้า(กะเหรี่ยงแดง)
 
  อ้างอิง เต็ม สมิตินันทน์,2544. ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย. ส่วนพฤกษศาสตร์ป่าไม้ สำนักวิชาการป่าไม้ กรมป่าไม้, กรุงเทพฯ.
 
  สภาพนิเวศ -
 
  เอกสารประกอบ
 
ภาพนิ่ง