ค้นหาสมุนไพร  
     
   
   
   
     
 
   
eherb ผลการค้นหา ตีนนก
ตีนนก
Vitex pinnata L.
 
 
 
 
 
รายละเอียดทางพฤษศาสตร์
 
  วงศ์ Lamiaceae
 
  ชื่อวิทยาศาสตร์ Vitex pinnata L.
 
  ชื่อไทย ตีนนก
 
  ชื่อท้องถิ่น ไม้ตีนนก(ไทลื้อ)
 
  ลักษณะทาง พฤกษศาสตร์ เป็นไม้ต้น ขนาดเล็กถึงขนาดกลาง ผลัดใบ แต่ผลิใบใหม่ไว สูง 8 - 15 ม. ลำต้นเปลาตรง เรือนยอด เป็นพุ่มแผ่กว้าง ทึบ กิ่งอ่อนเป็นสันสี่เหลี่ยมตามยาว ทั้งกิ่งอ่อนและยอดอ่อน มีขนยาว ๆ นุ่ม ๆ หนาแน่น
 
  ใบ ใบ เป็นช่อ ช่อใบจะออกตรงข้ามกันเป็นคู่ ๆ ช่อหนึ่ง ๆ จะมีใบย่อยกางแผ่ออกจากปลายก้านใน จำนวน 3 - 5 ใบ ทรงใบย่อยรูปรี ๆ กว้าง 4 - 7 ซม. ยาว 8 - 22 ซม. มีสองใบขนาดเล็กกว่ามาก โคนและปลายใยสอบ เนื้อใบหนา หลังใบเขียวเข้ม มีขนสาก ๆ ประปราย ท้องใบสีจางและมีขนนุ่ม หนาแน่น เส้นแขนงใบ มี 8 - 14 คู่ เส้นใบย่อยแบบเส้นร่างแหเห็นชัดทางด้านท้องใบ ขอบใบเรียบ ก้านไม่ย่อยไม่ปรากฎ ก้านช่อใบ ยาว 5 - 14 ซม.
 
  ดอก ดอก ดอกเล็กออกรวมกันเป็นช่อโต ๆ ตามปลายกิ่ง ช่อยาวถึง 15 ซม. และกว้างประมาณ 10 ซม. แขนงช่อย่อยาจะออกเป็นคู่ ๆ ตรงข้ามกันทั้งโคนช่อย่อยและโคนก้านดอกจะมีกาบหรือใบประดับรูปเรียวแหลมและงุ้ม ๆ รองรับทุกส่วนของช่อมีขนนุ่ม ๆ หนาแน่น โคนกลีบฐานดอกติดกันเป็นรูปจานเล็ก ๆ ขอบจะแยกเป็น 5 ลอน มีขนแน่นทั้งสองด้าน โคนกลีบดอกติดกันเป็นรูปกรวย ปลายกรวยแยกเป็นสองส่วนคล้ายปาก ริมบนมีสองแฉกเล็ก ๆ ริมล่างมี 3 แฉก โตกว่าและห้อยย้อยลงเล็กน้อย เกสรผู้ มี 4 อัน แยกเป็นคู่สั้นหนึ่งคู่ และยาวหนึ่งคู่ รังไข่กลม มีขนคลุม ภายในแบ่งเป็น 2 - 4 ช่อง แต่ละช่องมีไข่อ่อนหนึ่งหน่วย หลอดท่อรังไข่มีหลอดเดียว ปลายหลอดแยกเป็นสองแฉกเล็ก ๆ ดอก สีน้ำเงินแกมขาว ออกดอกระหว่างเดือน มีนาคม - พฤษภาคม
 
  ผล ผล กลม เล็ก วัดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 5 - 8 มม. ผลแก่ แก่จัดสีดำ ภายในมี 1 - 2 เมล็ด เป็นผลระหว่างเดือน เมษายน - ตุลาคม
 
  สรรพคุณ / การใช้ประโยชน์ - เนื้อไม้ ใช้สร้างบ้าน(ไทลื้อ)
 
  อ้างอิง เต็ม สมิตินันทน์,2544. ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย. ส่วนพฤกษศาสตร์ป่าไม้ สำนักวิชาการป่าไม้ กรมป่าไม้, กรุงเทพฯ.
ลักษณะ สำนักงานความหลากหลายทางชีวภาพด้านป่าไม้ กรมป่าไม้
http://biodiversity.forest.go.th/index.php?option=com_dofplant
 
  สภาพนิเวศ -
 
  เอกสารประกอบ
 
ภาพนิ่ง