|
วงศ์ |
Compositae (Asteraceae) |
|
|
ชื่อวิทยาศาสตร์ |
Acmella oleracea (L.) R.K. Jansen |
|
|
ชื่อไทย |
ผักคราด, ผักเผ็ด |
|
|
ชื่อท้องถิ่น |
ฮอดเต่อโดะ(กะเหรี่ยงเชียงใหม่), อีต่อฮัวเหละ(กะเหรี่ยงแดง), ผักเผ็ดหลวง(ไทลื้อ), ผักเผ็ด(ขมุ,คนเมือง), ด่อผักพิด(ปะหล่อง) |
|
|
ลักษณะทาง พฤกษศาสตร์ |
เป็นไม้ล้มลุก ลำต้นตรง สูงประมาณ 20-30 ซม. หรือทอดไปตามดินเล็กน้อยแต่ปลายชูขึ้น ลำต้นกลมอวบน้ำมีสีเขียวม่วงแดงปนเข้ม ลำต้นอ่อนมีขนปกคลุมเล็กน้อย สามารถออกจากตามข้อของต้น |
|
|
ใบ |
ใบเดี่ยวออกตรงข้าม รูปสามเหลี่ยมขอบใบหยักพับ ก้านใบยาว ผิวใบสากมีขนใบกว้าง
3-4 ซม. ยาง 3-6 ซม.
|
|
|
ดอก |
ออกดอกเป็นช่อตามซอกใบและปลายกิ่ง เป็นประจุกสีเหลือง ลักษณะกลม ปลายแหลมคล้ายหัวแหวน ดอกย่อยมี 2 วง วงนอกเป็นตัวเมีย วงในเป็นดอกสมบูรณ์เพศ |
|
|
ผล |
เป็นผลแห้งรูปไข่ |
|
|
สรรพคุณ / การใช้ประโยชน์ |
- ช่อดอกและใบ ใช้ประกอบอาหาร เช่น แกง(กะเหรี่ยงเชียงใหม่)
ทั้งต้น รับประทานสดกับน้ำพริกหรือนำไปแกง(กะเหรี่ยงแดง)
ใบ ใส่ในแกงแค(ไทลื้อ)
ยอดอ่อนและใบ ลวกเป็นผักจิ้มน้ำพริก(ขมุ)
ดอก และใบ ใช้ประกอบอาหาร เช่น แกงแค(คนเมือง,ปะหล่อง)
- ใบ นำมาขยี้พอกแผลสดช่วยห้ามเลือด(กะเหรี่ยงแดง) |
|
|
อ้างอิง |
เต็ม สมิตินันทน์,2544. ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย. ส่วนพฤกษศาสตร์ป่าไม้ สำนักวิชาการป่าไม้ กรมป่าไม้, กรุงเทพฯ.
|
|
|
สภาพนิเวศ |
ชอบขึ้นบริเวณที่มีน้ำชุ่มชื้น มีอินทรียวัตถุสูง แสงแดดรำไร |
|
|
เอกสารประกอบ |
|