|
วงศ์ |
Rutaceae |
|
|
ชื่อวิทยาศาสตร์ |
Zanthoxylum rhetsa DC (Syn. Zanthoxylum limonella (Dennst.) Alston) |
|
|
ชื่อไทย |
กำจัดต้น, มะข่วง , มะแขว่น |
|
|
ชื่อท้องถิ่น |
บะข่วง(คนเมือง), มะแขว่น(ขมุ), มะเข่น, มะแข่สะ(กะเหรี่ยงแม่ฮ่องสอน) |
|
|
ลักษณะทาง พฤกษศาสตร์ |
มะแข่นเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง สูงถึง 20 เมตร มีหนามแหลมตามลำต้นและกิ่ง เปลือกต้นสีน้ำตาลอมเหลือง |
|
|
ใบ |
ใบดกหนาเขียวสด ใบประกอบแบบขนนกปลายคี่หรือคู่ เรียงสลับ ก้านใบสีแดง ใบย่อยรูปไข่หรือรูปรี ปลายแหลม โคนแหลมและเบี้ยว ขอบเรียบหรือหยักห่างๆ |
|
|
ดอก |
ช่อดอกออกแยกแขนง ออกที่ยอดหรือตามง่ามใบ สีนวลหรือขาวอมเขียว รูปรีหรือรูปไข่ |
|
|
ผล |
ผลเป็นผลกลุ่มออกเป็นช่อ ผลค่อนข้างกลม ผิวขรุขระ สีเขียว มีกลิ่นหอม ผลแก่เปลือกหุ้มเมล็ดสีแดง แก่จัดสีดำ แตกอ้าเห็นเมล็ดในสีดำเล็กๆ |
|
|
สรรพคุณ / การใช้ประโยชน์ |
- เมล็ด ตากแห้ง ใช้ใส่ลาบ หรือแกง ทำให้มีกลิ่นหอม(คนเมือง)
ผล ตากแห้งแล้วนำไปประกอบอาหาร เช่น ใส่แกง(ขมุ)
ผลและเมล็ด ตากแห้งหรือนำไปคั่ว แล้วตำใส่น้ำพริกลาบ แต่เปลือกผลมีกลิ่นหอมกว่า จึงคัดเอาเมล็ดออกใช้แต่ เปลือกผลก็ได้(กะเหรี่ยงแม่ฮ่องสอน) |
|
|
อ้างอิง |
เต็ม สมิตินันทน์,2544. ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย. ส่วนพฤกษศาสตร์ป่าไม้ สำนักวิชาการป่าไม้ กรมป่าไม้, กรุงเทพฯ.
เกรียงไกรและคณะ. 2551. พืชอาหารและสมุนไพรท้องถิ่นบนพื้นที่สูง ชุดที่ 1 บ้านปางมะโอ. สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน). 190 หน้า |
|
|
สภาพนิเวศ |
ชอบขึ้นในที่โล่งหรือป่าฟื้นสภาพ ในป่าดิบเขาและดิบแล้ง |
|
|
เอกสารประกอบ |
|