ค้นหาสมุนไพร  
     
   
   
   
     
 
   
eherb ผลการค้นหา กำจัดต้น, มะข่วง , มะแขว่น
กำจัดต้น, มะข่วง , มะแขว่น
Zanthoxylum rhetsa DC (Syn. Zanthoxylum limonella (Dennst.) Alston)
 
 
 
 
 
รายละเอียดทางพฤษศาสตร์
 
  วงศ์ Rutaceae
 
  ชื่อวิทยาศาสตร์ Zanthoxylum rhetsa DC (Syn. Zanthoxylum limonella (Dennst.) Alston)
 
  ชื่อไทย กำจัดต้น, มะข่วง , มะแขว่น
 
  ชื่อท้องถิ่น บะข่วง(คนเมือง), มะแขว่น(ขมุ), มะเข่น, มะแข่สะ(กะเหรี่ยงแม่ฮ่องสอน)
 
  ลักษณะทาง พฤกษศาสตร์ มะแข่นเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง สูงถึง 20 เมตร มีหนามแหลมตามลำต้นและกิ่ง เปลือกต้นสีน้ำตาลอมเหลือง
 
  ใบ ใบดกหนาเขียวสด ใบประกอบแบบขนนกปลายคี่หรือคู่ เรียงสลับ ก้านใบสีแดง ใบย่อยรูปไข่หรือรูปรี ปลายแหลม โคนแหลมและเบี้ยว ขอบเรียบหรือหยักห่างๆ
 
  ดอก ช่อดอกออกแยกแขนง ออกที่ยอดหรือตามง่ามใบ สีนวลหรือขาวอมเขียว รูปรีหรือรูปไข่
 
  ผล ผลเป็นผลกลุ่มออกเป็นช่อ ผลค่อนข้างกลม ผิวขรุขระ สีเขียว มีกลิ่นหอม ผลแก่เปลือกหุ้มเมล็ดสีแดง แก่จัดสีดำ แตกอ้าเห็นเมล็ดในสีดำเล็กๆ
 
  สรรพคุณ / การใช้ประโยชน์ - เมล็ด ตากแห้ง ใช้ใส่ลาบ หรือแกง ทำให้มีกลิ่นหอม(คนเมือง)
ผล ตากแห้งแล้วนำไปประกอบอาหาร เช่น ใส่แกง(ขมุ)
ผลและเมล็ด ตากแห้งหรือนำไปคั่ว แล้วตำใส่น้ำพริกลาบ แต่เปลือกผลมีกลิ่นหอมกว่า จึงคัดเอาเมล็ดออกใช้แต่ เปลือกผลก็ได้(กะเหรี่ยงแม่ฮ่องสอน)
 
  อ้างอิง เต็ม สมิตินันทน์,2544. ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย. ส่วนพฤกษศาสตร์ป่าไม้ สำนักวิชาการป่าไม้ กรมป่าไม้, กรุงเทพฯ.
เกรียงไกรและคณะ. 2551. พืชอาหารและสมุนไพรท้องถิ่นบนพื้นที่สูง ชุดที่ 1 บ้านปางมะโอ. สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน). 190 หน้า
 
  สภาพนิเวศ ชอบขึ้นในที่โล่งหรือป่าฟื้นสภาพ ในป่าดิบเขาและดิบแล้ง
 
  เอกสารประกอบ
 
ภาพนิ่ง