|
วงศ์ |
Zingiberaceae |
|
|
ชื่อวิทยาศาสตร์ |
Zingiber montanum (J.König) Link ex A.Dietr. (Syn.Zingiber cassumunar Roxb.) |
|
|
ชื่อไทย |
ปูเลย |
|
|
ชื่อท้องถิ่น |
- แปร่คุ(กะเหรี่ยงเชียงใหม่) - ปูเลย ปูลอย (ภาคเหนือ), ไพล ว่านไฟ (ภาคกลาง), มิ้นสะล่าง (เงี้ยว-แม่ฮ่องสอน) [3] |
|
|
ลักษณะทาง พฤกษศาสตร์ |
ไม้ล้มลุก สูง 0.7-1.5 เมตร มีเหง้าใต้ดิน เปลือกนอกสีน้ำตาลแกมเหลือง เนื้อในสีเหลืองแกมเขียว กลิ่นเฉพาะ แทงหน่อหรือลำต้นเทียมขึ้นเป็นกอ ประกอบด้วยกาบใบ ก้านใบ หรือโคนก้าน
ใบ หุ้มซ้อนกัน ใบเดี่ยว เรียงสลับกัน รูปขอบขนาน แกมใบหอก กว้า 3.5-5.5 ซม. ยาว 18-35 ซม.
ดอก ช่อ แทงจากเหง้าใต้ดิน กลีบดอกสีนวล ใบประดับสีม่วง
ผล แห้ง รูปกลม [3] |
|
|
ใบ |
ใบ หุ้มซ้อนกัน ใบเดี่ยว เรียงสลับกัน รูปขอบขนาน แกมใบหอก กว้า 3.5-5.5 ซม. ยาว 18-35 ซม.
|
|
|
ดอก |
ดอก ช่อ แทงจากเหง้าใต้ดิน กลีบดอกสีนวล ใบประดับสีม่วง
|
|
|
ผล |
ผล แห้ง รูปกลม [3] |
|
|
สรรพคุณ / การใช้ประโยชน์ |
- ช่อดอก ลวกกินกับน้ำพริก(กะเหรี่ยงเชียงใหม่)
- สรรพคุณความเชื่อ
เหง้า เป็นยาแก้ท้องขึ้น ท้องอืดท้องเฟ้อ ขับลม แก้บิด ท้องเดิน ขับประจำเดือนสตรี ทาแก้ฟกช้ำ ปวดเมื่อย รักษาหืด กันเล็บถอด ต้มน้ำอาบหลังคลอด ขับเลือดร้าย แก้มุตกิดระดูขาว อาเจียน ปวดฟัน
น้ำมันเหง้า ไพลทาแผลพุพอง หนองฝี หรือโรคผิวหนังบางชนิด มีฤทธิ์ต้านจุลชีพ
น้ำคั้นจากเหง้า แก้เคล็ดขัดยอก ฟกบวม แพลงช้ำเมื่อย ทาหรือกากพอกบริเวณที่เป็น หรือห่อผ้าทำรูปประคบอังไฟให้ร้อน ประคบบริเวณที่เป็น หรือแว่นไพลสด 2 กก. ทอดน้ำมัน 10 นาที กรองเอาน้ำมัน เดินการบูร 4 ช้อนทาที่เป็นวันละ 2 ครั้ง
ดอก ขับโลหิตกระจายเลือดเสีย
ต้น แก้ธาตุพิการ อุจจาระพิการ
ใบ แก้ไข้ ปวดเมื่อย ครั่นเนื้อครั่นตัว เมื่อย [3] |
|
|
อ้างอิง |
เต็ม สมิตินันทน์,2544. ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย. ส่วนพฤกษศาสตร์ป่าไม้ สำนักวิชาการป่าไม้ กรมป่าไม้, กรุงเทพฯ.
[3] สมพร ภูติยานันต์, 2551. สมุนไพรใกล้ตัว เล่ม 13 : สมุนไพรแต่งสี กลิ่น รส. วิทยาศาสตร์เภสัชกรรม คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. ตุลย์การพิมพ์, เชียงใหม่. |
|
|
สภาพนิเวศ |
- |
|
|
เอกสารประกอบ |
|