|
|
|
|
พืชตามกลุ่มการใช้ประโยชน์
|
|
|
|
eherb ผลการค้นหา
เดื่อหว้า, มะเดื่อหลวง
|
เดื่อหว้า, มะเดื่อหลวง
Ficus auriculata Lour. (Syn. Ficus oligodon Miq.) |
|
|
|
|
|
|
|
รายละเอียดทางพฤษศาสตร์ |
|
|
วงศ์ |
Moraceae |
|
|
ชื่อวิทยาศาสตร์ |
Ficus auriculata Lour. (Syn. Ficus oligodon Miq.) |
|
|
ชื่อไทย |
เดื่อหว้า, มะเดื่อหลวง |
|
|
ชื่อท้องถิ่น |
เตอะกือโพ(กะเหรี่ยงแม่ฮ่องสอน), ด่อกะโต้ว(บ)(ปะหล่อง), บะครูน(ลั้วะ), ตรู้ล(ขมุ), งงหยอ(เมี่ยน), เดื่อหว้า(คนเมือง) |
|
|
ลักษณะทาง พฤกษศาสตร์ |
มะเดื่อหว้าเป็นไม้ยืนต้นเนื้ออ่อน เปลือกสีเทาปนน้ำตาล แตกกิ่งก้านสาขามาก |
|
|
ใบ |
ใบเดี่ยวออกเรียงสลับ เป็นกระจุกปลายยอด รูปไข่กว้างหรือหัวใจ กว้าง 14-15 ซม. ยาว 18-23 ซม. ขอบใบเรียบ ปลายและโคนมน เส้นใบชัด ผิวใบสากเล็กน้อย หลังใบสีอ่อนกว่าท้องใบ มีขนนุ่มปกคลุม ก้านใบยาว 13-15 ซม. ยอดและก้านใบมีขนนุ่มสีน้ำตาลปกคลุม ลำต้นเห็นแผลของก้านใบที่ร่วงชัดเจน |
|
|
ดอก |
ดอกเป็นช่อยาว ออกตามลำต้นและกิ่ง |
|
|
ผล |
ผลขนาดใหญ่ รูปกลมแบน สีเขียว มีกลีบเลี้ยงสีน้ำตาลติดอยู่ ที่ผิวมีจุดสีเขียวอ่อนกระจายทั่วทั้งผล |
|
|
สรรพคุณ / การใช้ประโยชน์ |
- ผลสุกและยอดอ่อน รับประทานได้(กะเหรี่ยงแม่ฮ่องสอน)
ผล รับประทานสดหรือต้มเป็นผักจิ้มน้ำพริก, ยอดอ่อน แกงหรือรับประทานเป็นผักจิ้มน้ำพริก(ปะหล่อง)
ผลสุก รับประทานได้(ลั้วะ)
ยอดอ่อนและผลอ่อน รับประทานกับลาบ(เมี่ยน)
ผลสุก รับประทานได้, ผลดิบ รับประทานกับน้ำพริกหรือลาบปลา(ขมุ)
ผลดิบและยอดอ่อน นำไปแกง หรือลวกกินกับน้ำพริก(คนเมือง) |
|
|
อ้างอิง |
เต็ม สมิตินันทน์,2544. ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย. ส่วนพฤกษศาสตร์ป่าไม้ สำนักวิชาการป่าไม้ กรมป่าไม้, กรุงเทพฯ.
|
|
|
สภาพนิเวศ |
- |
|
|
เอกสารประกอบ |
|
|
|
ภาพนิ่ง |
|
|
|
|
|
|
|
|