|
|
|
|
พืชตามกลุ่มการใช้ประโยชน์
|
|
|
|
eherb ผลการค้นหา
มะเดื่อปล้อง, เดื่อปล้อง
|
มะเดื่อปล้อง, เดื่อปล้อง
Ficus hispida L.f. |
|
|
|
|
|
|
|
รายละเอียดทางพฤษศาสตร์ |
|
|
วงศ์ |
Moraceae |
|
|
ชื่อวิทยาศาสตร์ |
Ficus hispida L.f. |
|
|
ชื่อไทย |
มะเดื่อปล้อง, เดื่อปล้อง |
|
|
ชื่อท้องถิ่น |
งงหยอเจีย(เมี่ยน), หมากหนอด(ไทใหญ่), เดื่อป่อง(คนเมือง,ไทลื้อ), ลำเดื่อปล้อง(ลั้วะ), กระซาล(ขมุ), ลำเดื่อ(ลั้วะ), ไฮ่มะเดื่อปล้อง(ปะหล่อง), ดิ๊โจ่เหมาะ(กะเหรี่ยงแดง) |
|
|
ลักษณะทาง พฤกษศาสตร์ |
ไม้ต้น สูงถึง 15 ม. บางครั้งพบคล้ายไม้พุ่ม แตกกิ่งก้านสาขากว้างขวาง เปลือกลำต้นสีเทา เรียบ ทุกส่วนมีขนสากสีขาว หรือน้ำตาลอ่อน กิ่งก้านกลวง มียางขาว หูใบยาว 11-25 มม. หลุดร่วงง่าย
ใบ เดี่ยว เรียงตรงข้ามสลับตั้งฉาก บางครั้งพบเรียงเวียนสลับ รูปรีแกมขอบขนานหรือรูปรีแกมรูปไข่ กว้าง 2.6-16 ซม. ในต้นกล้ามีขนาดกว้างถึง 18 ซม. ยาวถึง 40 ซม. ปลายเรียวแหลม ปลายยอดแหลม ยาวถึง 10-25 มม. โคนใบรูปหัวใจ หรือสอบแคบ ขอบจักเป็นคลื่น หรือค่อนข้างเรียบ เนื้อใบคล้ายกระดาษ มีขนสากทั้งสองด้าน บางครั้งพบขนเกลี้ยง เมื่อแห้งสีเขียวอมเทา เส้นใบมี 4-9 คู่ โค้งขึ้นบน มี 1-3 คู่ออกจากโคนใบ อาจสั้นหรือยาวไปถึงเกือบครึ่งของแผ่นใบเส้นร่างแหเป็นแบบขึ้นบันได ผลแบบมะเดื่อ (fig หรือ syconium) ซึ่งต่อไปจะเจริญเป็นผล fig เกิดจากฐานดอกที่บวมพองขึ้น ภายในกลวง ที่ปลายมีช่องเปิดที่มีใบประดับปิดอยู่ ภายใน fig นี้มีดอก 3 ประเภทคือ ดอกเพศผู้ ดอกเพศเมีย และดอกปุ่มหูด fig นี้ส่วนมากเกิดเป็นช่อตามลำต้นบนกิ่งที่ห้อยลง ไม่มีใบ มีหลายกิ่งอยู่รวมกันออกจากลำต้นและกิ่งใหญ่ๆ ยาวถึง 1.5 ม. บางครั้งเลื้อยไปตามพื้นดิน หรือพบบ้างที่เกิดตามง่ามใบ มีขนสากเล็กน้อย เมื่อแก่สีเหลืองอ่อนมีก้านยาว 5-15 มม. ที่โคนมีใบประดับ 3 ใบ ยาว 1.5 ม. บางครั้งเลื้อยไปตามพื้นดิน หรือพบบ้างที่เกิดตามง่ามใบ มีขนสากเล็กน้อย เมื่อแก่สีเหลืองอ่อนมีก้านยาว 5-15 มม. ที่โคนมีใบประดับ 3 ใบ ยาว 1-1.5 มม. ค่อนข้างเป็นสามเหลี่ยม fig รูปไข่กลับแกมรูปผลแพร์ หรือค่อนข้างกลม กว้าง 15(-25)-25(-35) มม. มีใบประดับแบนชิดอยู่ กว้าง 2-4 มม. บางครั้งไม่มี มักมีสันบางๆ บนผิว ช่องเปิดจะค่อนข้างแบน มีใบประดับคล้ายติ่งรูปกรวย 5-6 ใบซ้อนกัน และมีใบประดับเล็ก ๆ อยู่ข้างในอีกหลายใบ ไม่มีขนและเซลล์แข็ง ดอกเพศผู้ มี1-2 แถว กลีบรวมจักเป็น 3-4 พู ปลายมีขน เกสรเพศผู้มี 1 อัน ดอกปุ่มหูดไม่มีก้าน หรือมีก้านมีกลีบรวมปกคลุมใข่ ดอกเพศเมีย ไม่มีก้าน หรือมีก้าน กลีบรวมเชื่อมติดกันคล้ายปลอกหรือท่อสั้นๆ รอบก้านของรังไข่ที่มีสีน้ำตาลแดง ก้านเกสรเพศเมียมีขนสากที่เหนือโคนขึ้นไป เมล็ด ยาวประมาณ 1 มม. มีสันเล็กน้อย มีปุ่ม มีขั้วเมล็ด [8] |
|
|
ใบ |
ใบ เดี่ยว เรียงตรงข้ามสลับตั้งฉาก บางครั้งพบเรียงเวียนสลับ รูปรีแกมขอบขนานหรือรูปรีแกมรูปไข่ กว้าง 2.6-16 ซม. ในต้นกล้ามีขนาดกว้างถึง 18 ซม. ยาวถึง 40 ซม. ปลายเรียวแหลม ปลายยอดแหลม ยาวถึง 10-25 มม. โคนใบรูปหัวใจ หรือสอบแคบ ขอบจักเป็นคลื่น หรือค่อนข้างเรียบ เนื้อใบคล้ายกระดาษ มีขนสากทั้งสองด้าน บางครั้งพบขนเกลี้ยง เมื่อแห้งสีเขียวอมเทา เส้นใบมี 4-9 คู่ โค้งขึ้นบน มี 1-3 คู่ออกจากโคนใบ อาจสั้นหรือยาวไปถึงเกือบครึ่งของแผ่นใบเส้นร่างแหเป็นแบบขึ้นบันได ผลแบบมะเดื่อ (fig หรือ syconium) ซึ่งต่อไปจะเจริญเป็นผล fig เกิดจากฐานดอกที่บวมพองขึ้น ภายในกลวง ที่ปลายมีช่องเปิดที่มีใบประดับปิดอยู่ ภายใน fig นี้มีดอก 3 ประเภทคือ ดอกเพศผู้ ดอกเพศเมีย และดอกปุ่มหูด fig นี้ส่วนมากเกิดเป็นช่อตามลำต้นบนกิ่งที่ห้อยลง ไม่มีใบ มีหลายกิ่งอยู่รวมกันออกจากลำต้นและกิ่งใหญ่ๆ ยาวถึง 1.5 ม. บางครั้งเลื้อยไปตามพื้นดิน หรือพบบ้างที่เกิดตามง่ามใบ มีขนสากเล็กน้อย เมื่อแก่สีเหลืองอ่อนมีก้านยาว 5-15 มม. ที่โคนมีใบประดับ 3 ใบ ยาว 1.5 ม. บางครั้งเลื้อยไปตามพื้นดิน หรือพบบ้างที่เกิดตามง่ามใบ มีขนสากเล็กน้อย เมื่อแก่สีเหลืองอ่อนมีก้านยาว 5-15 มม. ที่โคนมีใบประดับ 3 ใบ ยาว 1-1.5 มม. ค่อนข้างเป็นสามเหลี่ยม fig รูปไข่กลับแกมรูปผลแพร์ หรือค่อนข้างกลม กว้าง 15(-25)-25(-35) มม. มีใบประดับแบนชิดอยู่ กว้าง 2-4 มม. บางครั้งไม่มี มักมีสันบางๆ บนผิว ช่องเปิดจะค่อนข้างแบน มีใบประดับคล้ายติ่งรูปกรวย 5-6 ใบซ้อนกัน และมีใบประดับเล็ก ๆ อยู่ข้างในอีกหลายใบ ไม่มีขนและเซลล์แข็ง ดอกเพศผู้ มี1-2 แถว กลีบรวมจักเป็น 3-4 พู ปลายมีขน เกสรเพศผู้มี 1 อัน ดอกปุ่มหูดไม่มีก้าน หรือมีก้านมีกลีบรวมปกคลุมใข่ ดอกเพศเมีย ไม่มีก้าน หรือมีก้าน กลีบรวมเชื่อมติดกันคล้ายปลอกหรือท่อสั้นๆ รอบก้านของรังไข่ที่มีสีน้ำตาลแดง ก้านเกสรเพศเมียมีขนสากที่เหนือโคนขึ้นไป เมล็ด ยาวประมาณ 1 มม. มีสันเล็กน้อย มีปุ่ม มีขั้วเมล็ด |
|
|
ดอก |
- |
|
|
ผล |
- |
|
|
สรรพคุณ / การใช้ประโยชน์ |
- ใบอ่อน รับประทานกับลาบ, ผลสุก รับประทานได้(เมี่ยน)
ผลสุก รับประทานได้, ผลดิบ รับประทานสดกับน้ำพริก(ไทใหญ่)
ผลอ่อน ลวกจิ้มน้ำพริก หรือนำไปประกอบอาหารโดยการหลามกับกระดูกหมู(กะเหรี่ยงแดง)
ผลดิบ ใช้รับประทานกับแกงบอนหรือหลามบอน(ไทลื้อ)
ผลอ่อน นึ่งกินเป็นผักจิ้มน้ำพริก(คนเมือง)
ใบอ่อน รับประทานกับน้ำพริก(ลั้วะ)
ผล รับประทานได้แต่ไม่เป็นที่นิยมเนื่องจากมีแมลงอยู่ข้างในผล(ขมุ)
- ผล ใช้ไม้ร้อยร่วมกับไพล กล้วยดิบที่ฝานเป็นแว่น แช่น้ำ ให้คนที่มีอาการท้องร่วงกินแก้อาการท้องร่วง(คนเมือง)
- กิ่งที่กลวง นำมาทำเป็นหลอดดูดน้ำ เชื่อว่าช่วยทำให้มีความจำดี(ปะหล่อง)
- ยอดอ่อน นำไปต้มเป็นอาหารเลี้ยงหมู(ลั้วะ)
เนื้อไม้ ใช้ทำฟืน(ลั้วะ) |
|
|
อ้างอิง |
เต็ม สมิตินันทน์,2544. ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย. ส่วนพฤกษศาสตร์ป่าไม้ สำนักวิชาการป่าไม้ กรมป่าไม้, กรุงเทพฯ.
[8] ก่องกานดา ชยามฤตและลีนา ผู้พัฒนพงศ์, 2545. สมุนไพรไทยตอนที่ 7 . ส่วนพฤกษศาสตร์ป่าไม้ สำนักวิชาการป่าไม้ หอพรรณไม้ กรมป่าไม้, กรุงเทพฯ. |
|
|
สภาพนิเวศ |
เจริญเติบโตได้ดีในดินทุกชนิด ตามป่าโปร่ง ป่าดิบเขา พื้นราบ หรือตามที่ว่างเปล่าทั่วไป ชอบดินร่วน อุดมสมบูรณ์ ระบายน้ำดี |
|
|
เอกสารประกอบ |
|
|
|
ภาพนิ่ง |
|
|
|
|
|
|
|
|