|
วงศ์ |
Moraceae |
|
|
ชื่อวิทยาศาสตร์ |
Ficus fistulosa Reinw. ex Blume |
|
|
ชื่อไทย |
ชิ้งขาว |
|
|
ชื่อท้องถิ่น |
- แผละเดื้อ(ลั้วะ) - ชิ้งขาว จิ้งขาว ชิงบ้าน (นครศรีธรรมราช) ชิ้ง เดือย (ตรัง) มะเดื่อปล้อง (ตราด) [8] |
|
|
ลักษณะทาง พฤกษศาสตร์ |
ไม้ต้น สูง 5-10 ม. กิ่งปลายๆ ค่อนข้างเล็ก หูใบยาว 1-2.5 ซม.
ใบ เดี่ยว เรียงเวียนสลับ รูปไข่กลับแกมรูปใบหอกแกมขอบขนาน กว้าง 2.5-15 ซม. ยาว 7.5-33 ซม. ปลายเรียวแหลม โคนแหลม มน หรือกลม เนื้อใบบาง ค่อนข้างหนาคล้ายหนัง ขอบเรียบ หรือจักเป็นฟันเลื่อนตื้นๆ สีเขียวอ่อน หรือสีเขียวอมเหลือง ด้านบนเป็นเงา เส้นร่างแหชัดเจน ก้านใบยาว 1-6 ซม. ขนนุ่ม
ดอก อยู่ในโครงสร้างที่มีลักษณะคล้ายผลที่เรียกกว่า ผลแบบมะเดื่อ (fig หรือ syconium) ซึ่งต่อไปจะเจริญเป็นผล fig เกิดจากฐานดอกที่บวมพองขึ้น ภายในกลวง ที่ปลายมีช่องเปิดที่มีใบประดับปิดอยู่ภายใน fig นี้มีดอก 3 ประเภทคือ ดอกเพศผู้ ดอกเพศเมีย และดอกปุ่มหูด fig เกิดตามง่ามใบหรือตามที่ใบร่วงหลุดไป หรือเป็นกระจุกบนลำต้นและกิ่งใหญ่ๆ มีก้านยาว 0.5-4 ซม. รูปกลม หรือรูปรีกว้าง ปลายเรียบ เส้นผ่านศูนย์กลาง 1.5-3 ซม. เกลี้ยง หรือมีขนเล็กน้อย สีเขียว เขียวอมเหลือง หรือสีเขียวปนน้ำตาลปนม่วง มักมีจุดสีอ่อนๆ ที่โคนมีใบประดับยาวถึง 15 มม. ดอกเพศผู้กลีบรวมเกลี้ยง ดอกเพศเมีย กลีบรวมสั้น [8] |
|
|
ใบ |
ใบ เดี่ยว เรียงเวียนสลับ รูปไข่กลับแกมรูปใบหอกแกมขอบขนาน กว้าง 2.5-15 ซม. ยาว 7.5-33 ซม. ปลายเรียวแหลม โคนแหลม มน หรือกลม เนื้อใบบาง ค่อนข้างหนาคล้ายหนัง ขอบเรียบ หรือจักเป็นฟันเลื่อนตื้นๆ สีเขียวอ่อน หรือสีเขียวอมเหลือง ด้านบนเป็นเงา เส้นร่างแหชัดเจน ก้านใบยาว 1-6 ซม. ขนนุ่ม
|
|
|
ดอก |
ดอก อยู่ในโครงสร้างที่มีลักษณะคล้ายผลที่เรียกกว่า ผลแบบมะเดื่อ (fig หรือ syconium) ซึ่งต่อไปจะเจริญเป็นผล fig เกิดจากฐานดอกที่บวมพองขึ้น ภายในกลวง ที่ปลายมีช่องเปิดที่มีใบประดับปิดอยู่ภายใน fig นี้มีดอก 3 ประเภทคือ ดอกเพศผู้ ดอกเพศเมีย และดอกปุ่มหูด fig เกิดตามง่ามใบหรือตามที่ใบร่วงหลุดไป หรือเป็นกระจุกบนลำต้นและกิ่งใหญ่ๆ มีก้านยาว 0.5-4 ซม. รูปกลม หรือรูปรีกว้าง ปลายเรียบ เส้นผ่านศูนย์กลาง 1.5-3 ซม. เกลี้ยง หรือมีขนเล็กน้อย สีเขียว เขียวอมเหลือง หรือสีเขียวปนน้ำตาลปนม่วง มักมีจุดสีอ่อนๆ ที่โคนมีใบประดับยาวถึง 15 มม. ดอกเพศผู้กลีบรวมเกลี้ยง ดอกเพศเมีย กลีบรวมสั้น [8] |
|
|
ผล |
- |
|
|
สรรพคุณ / การใช้ประโยชน์ |
- ผลสุก รับประทานได้, ยอดอ่อน รับประทานเป็นผักจิ้มน้ำพริก(ลั้วะ)
- ยาง เป็นส่วนผสมในพลาสเตอร์ปิดขมับแก้ปวดหัว ราก น้ำต้มเป็นยาบำรุงหลังการคลอดบุตร เป็นยาขับปัสสาวะ [8] |
|
|
อ้างอิง |
เต็ม สมิตินันทน์,2544. ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย. ส่วนพฤกษศาสตร์ป่าไม้ สำนักวิชาการป่าไม้ กรมป่าไม้, กรุงเทพฯ.
[8] ก่องกานดา ชยามฤตและลีนา ผู้พัฒนพงศ์, 2545. สมุนไพรไทยตอนที่ 7 . ส่วนพฤกษศาสตร์ป่าไม้ สำนักวิชาการป่าไม้ หอพรรณไม้ กรมป่าไม้, กรุงเทพฯ. |
|
|
สภาพนิเวศ |
- |
|
|
เอกสารประกอบ |
|