|
วงศ์ |
Acanthaceae |
|
|
ชื่อวิทยาศาสตร์ |
Acanthus ebracteatus Vahl |
|
|
ชื่อไทย |
เหงือกปลาหมอ,จะเกร็ง |
|
|
ชื่อท้องถิ่น |
เหงือกปลาหมอ(คนเมือง,ไทลื้อ) |
|
|
ลักษณะทาง พฤกษศาสตร์ |
ต้น เป็นพรรณไม้พุ่ม ขนาดกลาง ซึ่งมีความสูงประมาณ 1.3 – 5 ฟุต ลักษณะของลำต้นเป็นข้อ แข็ง และมีหนามอยู่ตามข้อ มีประมาณ 4 หนาม
ใบ ใบออกเป็นใบเดี่ยว ใบมีลักษณะเป็นรูปไข่ ปลายใบแหลม ริมขอบใบเรียบไม่มีหยัก ใบมีขนาดกว้างประมาณ 1.2 – 5 ซม. ยาวประมาณ 3 – 7 ซม. ก้านใบสั้น
ดอก ออกเป็นช่อตั้งตรง ยาวประมาณ 4 – 6 นิ้ว ลักษณะของดอกมีกลีบรองกลีบดอก 4 กลีบ เป็นสีขาว สีฟ้าอมม่วงหรือสีฟ้า กลีบยาวประมาณ 1 – 1.5 ซม. กลางดอกมีเกสรตัวผู้และตัวเมีย
ผล : ผลมีลักษณะเป็นฝัก ปลายฝักป้าน ผิวเปลือกเป็นสีน้ำตาล ภายในฝักมีเมล็ด 4 เมล็ด[1] |
|
|
ใบ |
ใบ ใบออกเป็นใบเดี่ยว ใบมีลักษณะเป็นรูปไข่ ปลายใบแหลม ริมขอบใบเรียบไม่มีหยัก ใบมีขนาดกว้างประมาณ 1.2 – 5 ซม. ยาวประมาณ 3 – 7 ซม. ก้านใบสั้น
|
|
|
ดอก |
ดอก ออกเป็นช่อตั้งตรง ยาวประมาณ 4 – 6 นิ้ว ลักษณะของดอกมีกลีบรองกลีบดอก 4 กลีบ เป็นสีขาว สีฟ้าอมม่วงหรือสีฟ้า กลีบยาวประมาณ 1 – 1.5 ซม. กลางดอกมีเกสรตัวผู้และตัวเมีย
|
|
|
ผล |
ผล: ผลมีลักษณะเป็นฝัก ปลายฝักป้าน ผิวเปลือกเป็นสีน้ำตาล ภายในฝักมีเมล็ด 4 เมล็ด |
|
|
สรรพคุณ / การใช้ประโยชน์ |
- ใบและราก ต้มดื่มน้ำ บำรุงกำลัง แก้ปวดหลังปวดเอว ใช้ร่วมกับโด่ไม่รู้ล้ม(คนเมือง)
ต้นและใบนำไปตากแห้งแล้วนำไปต้มผสมกับต้นแสนต้นลมก๊าน ดื่มเป็นรักษาโรคนิ่ว(คนเมือง)
ใบ นำมาสับแล้วตากแห้งใช้เข้ายาห่มตำรับไทลื้อ บำรุงร่างกายและผิวพรรณ(ไทลื้อ)
- ลำต้น ใช้ลำต้นสด นำมาต้มเอาน้ำอาบ แก้เป็นผดผื่นคัน
ใบ ใช้ใบสด นำมาต้มเอาน้ำกินเป็นยาแก้ไข้หัว ลมพิษฝีแก้ฝีทราง หรือใช้ใบสดนำมาตำให้ละเอียด ใช้พอกบริเวณแผลที่ถูกงูกัด พอกฝี และแผลอักเสบ เป็นต้น
เมล็ด ใช้เมล็ด ดอกมะเฟือง เปลือกอบเชย และน้ำตาลกรวด นำมาต้มรวมกันเอาน้ำกินเป็นยาแก้ไอ ขับเลือด หรือใช้เมล็ดคั่วให้เกรียมนำมาป่นให้ละเอียดชงกินกับน้ำ กินเป็นยาแก้ฝี เป็นต้น
ราก ใช้รากสด นำมาต้มเอาน้ำกินเป็นยาแก้โรคงูสวัด[1] |
|
|
อ้างอิง |
เต็ม สมิตินันทน์,2544. ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย. ส่วนพฤกษศาสตร์ป่าไม้ สำนักวิชาการป่าไม้ กรมป่าไม้, กรุงเทพฯ.
[1] วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม, 2548. พจนานุกรมสมุนไพรไทย. ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 6. รวมสาส์น (1977) จำกัด. กรุงเทพ ฯ. |
|
|
สภาพนิเวศ |
พบปลูกทั่วไป ชอบขึ้นตามชายน้ำ ริมฝั่งคลองบริเวณปากแม่น้ำ ชอบดินร่วนอุ้มน้ำดี |
|
|
เอกสารประกอบ |
|