ค้นหาสมุนไพร  
     
   
   
   
     
 
   
eherb ผลการค้นหา Garden spurge
Garden spurge
Euphorbia hirta L.
 
 
 
 
 
รายละเอียดทางพฤษศาสตร์
 
  วงศ์ Euphorbiaceae
 
  ชื่อวิทยาศาสตร์ Euphorbia hirta L.
 
  ชื่อไทย น้ำนมราชสีห์
 
  ชื่อท้องถิ่น - หญ้าน้ำหมึก(ไทลื้อ), ตะกราเหมาะ(กะเหรี่ยงแดง), บัดอะตอน(ปะหล่อง) - นมราชสีห์, ผักโขมแตง (กลาง); หญ้าน้ำหมึก (เหนือ); หญ้าหลังอึ่ง (เงี้ยว – แม่ฮ่องสอน); ไต่ปวยเอี่ยงเช่า, ปวยเอี้ยง (จีน). [6]
 
  ลักษณะทาง พฤกษศาสตร์ พืชล้มลุก, ขนาดเล็ก, ต้นยาว 15 – 40 ซม.; มีทั้งตั้งขึ้นและแผ่ออกรอบ ๆ; ตามก้านสีแดงเรื่อ ๆ, มีขนสีน้ำตาลปนเหลือง.
ใบ เดี่ยว, เรียงเป็นคู่ตรงข้ามกัน, รูปรีหรือรีแกมข้าวหลามตัดเบี้ยวเล็กน้อย, กว้าง 0.25 – 2.5 ซม., ยาว 1 – 4 ซม.; ปลายใบแหลมสั้น; ฐานใบสอบเบี้ยวเล็กน้อย; ขอบใบหยักเล็ก ๆ แบบฟันเลื่อย; เส้นใบออกจากโคน 3 – 5 เส้น, ที่กลางใบมีจุดสีม่วงแดง, ด้านล่างใบมีขนสีน้ำตาลอมเหลือง.
ดอก ออกเป็นช่อตามง่ามใบ, ดอกมีจำนวนมาก, ออกชิดกันแน่นเป็นกระจุกกลม ๆ, ชื่อหนึ่ง ๆ มีเส้นผ่าศูนย์กลาง 1 ซม., สีเขียวปนม่วงแดง, ดอกไม่มีด้านดอกหรือมีแต่สั้นมาก; เกสรผู้มี 5 อัน, เกสรเมีย 1 อัน, รังไข่รูปกลมแกมสามเหลี่ยม, มีก้านยื่นออกมาจากกลางดอก, ท่อรังไข่ 3 อัน, สั้น.
ผล กลมแกมสามเหลี่ยม, ยาวประมาณ 1.5 มม., มีรอยแยก 3 รอย.[6]
 
  ใบ ใบ เดี่ยว, เรียงเป็นคู่ตรงข้ามกัน, รูปรีหรือรีแกมข้าวหลามตัดเบี้ยวเล็กน้อย, กว้าง 0.25 – 2.5 ซม., ยาว 1 – 4 ซม.; ปลายใบแหลมสั้น; ฐานใบสอบเบี้ยวเล็กน้อย; ขอบใบหยักเล็ก ๆ แบบฟันเลื่อย; เส้นใบออกจากโคน 3 – 5 เส้น, ที่กลางใบมีจุดสีม่วงแดง, ด้านล่างใบมีขนสีน้ำตาลอมเหลือง.
 
  ดอก ดอก ออกเป็นช่อตามง่ามใบ, ดอกมีจำนวนมาก, ออกชิดกันแน่นเป็นกระจุกกลม ๆ, ชื่อหนึ่ง ๆ มีเส้นผ่าศูนย์กลาง 1 ซม., สีเขียวปนม่วงแดง, ดอกไม่มีด้านดอกหรือมีแต่สั้นมาก; เกสรผู้มี 5 อัน, เกสรเมีย 1 อัน, รังไข่รูปกลมแกมสามเหลี่ยม, มีก้านยื่นออกมาจากกลางดอก, ท่อรังไข่ 3 อัน, สั้น.
 
  ผล ผล กลมแกมสามเหลี่ยม, ยาวประมาณ 1.5 มม., มีรอยแยก 3 รอย.[6]
 
  สรรพคุณ / การใช้ประโยชน์ - น้ำยาง ใช้ทาแผลจากการสัก ช่วยให้แผลหายเร็ว(ไทลื้อ)
ทั้งต้น ต้มแล้วเอาผ้าชุบน้ำมาทาแผล หรือเอายางสดมาทาแผลทำให้แผลแห้งไวหรือทารักษาโรคปากนกกระจอก, ทั้งต้น ต้มอาบแก้อาการคัน(กะเหรี่ยงแดง)
ทั้งต้น เป็นส่วนประกอบในยารักษาโรคตานขโมยใช้ต้มอาบ(ปะหล่อง)
- ราก น้ำต้มราก, กินเป็นยาทำให้อาเจียน, ขับน้ำนม และแก้ไข้มาลาเรีย
ต้น น้ำต้มเป็นยาเย็น, กินแก้บิด, ขับน้ำนม, ธาตุพิการ, ขับปัสสาวะ , แก้หืดหอบ, หลอดลมอักเสบเรื้อรัง , แก้แพ้อากาศ, เป็นยาฝาดสมานและห้ามเลือด
ยอดอ่อนกินได้
ทั้งต้นตำเป็นยาพอก, แก้บาดแผลเล็ก ๆ น้อย ๆ
น้ำยางต้นใช้กัดหูด, สารสกัดต้นมีฤทธิ์เป็นยาปฏิชีวนะต่อเชื้อ Staphylococcus
ใบ ใบแห้งประสมกับใบและดอกของต้นลำโพง (Datura metel Linn.) สูบแก้หอบหืด [6]
- ทั้งต้น เป็นยาบำรุงกำลัง ขับปัสสาวะ แก้ไอหืด เป็นยาดเหล้า ถ่ายพยาธิ [1]
- ตำรับยา เมื่ออดดอกและผลแต่จะไม่รวมกับราก เอาไปตากแห้งแล้วนำมาประกอบเป็นยาในรูปของยาดองเหล้าและ Fluidextract ผสมกับ Lobelia (Lobelia inflate Linn) หรือราก senega (Ploygala senega Linn.) ใช้แก้หีดและแก้ไอ ซึ่งจะมีฤทธิ์กดการหายใจ ทำให้หลอดลมขยาย ในรูปของยาดองเหล้าใช้ในโรคเกี่ยวกับลำไส้ ถ่าย [1]
 
  อ้างอิง เต็ม สมิตินันทน์,2544. ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย. ส่วนพฤกษศาสตร์ป่าไม้ สำนักวิชาการป่าไม้ กรมป่าไม้, กรุงเทพฯ.
[1] วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม, 2548. พจนานุกรมสมุนไพรไทย. ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 6. รวมสาส์น (1977) จำกัด. กรุงเทพ ฯ.
[6] ลีนา ผู้พัฒนพงศ์, 2530. สมุนไพรไทยตอนที่ 5 . ฝ่ายพฤกษศาสตร์ป่าไม้ กองบำรุง กรมป่าไม้, กรุงเทพฯ.
 
  สภาพนิเวศ -
 
  เอกสารประกอบ
 
ภาพนิ่ง