ค้นหาสมุนไพร  
     
   
   
   
     
 
   
eherb ผลการค้นหา Horsetail
Horsetail
Equisetum ramosissimum subsp. debile (Roxb. ex Vaucher) Hauke (Syn. Equisetum debile Roxb. Ex Vaucher)
 
 
 
 
 
รายละเอียดทางพฤษศาสตร์
 
  วงศ์ Equisetaceae
 
  ชื่อวิทยาศาสตร์ Equisetum ramosissimum subsp. debile (Roxb. ex Vaucher) Hauke (Syn. Equisetum debile Roxb. Ex Vaucher)
 
  ชื่อไทย หญ้าถอดบ้อง, หญ้าถอดปล้อง
 
  ชื่อท้องถิ่น - อื่อซอปวยว่อ, อื่อซอปอยวา(กะเหรี่ยงแม่ฮ่องสอน), หญ้าถอดปล้อง(ไทลื้อ), หญ้าถอดป้อง(คนเมือง), หรึยซอพอดัว(กะเหรี่ยงเชียงใหม่) - หญ้าเงือก, หญ้าหูหนวก (เหนือ); เครือเซาะปอยวา, แยปอ (กะเหรี่ยง – แม่ฮ่องสอน); หญ้าปล้อง, หญ้าสองปล้อง (กลาง). [6]
 
  ลักษณะทาง พฤกษศาสตร์ พืชล้มลุก, ลำต้นสีเขียว, ตั้งตรง, สูง 30 – 100 ซม., มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 1 – 5 มม., เป็นปล้อง ๆ, ภายในกลวง, ด้านนอกมีร่องตามยาว.
ใบ ติดกันเป็นรูปทรงกระบอกหุ้มรอบข้อ, ยาว 4 – 12 มม., สีเขียว, ขอบแยกเป็นแฉก ๆ , มีน้ำตาล หรือขาว, แฉกเหล่านี้แห้งและร่วงง่าย, แตกกิ่งตามข้อ ๆ ละ 1 – 4 กิ่ง.
อวัยวะสืบพันธุ์ เกิดที่ยอด, เป็นรูปของขนานแกมรูปรี, สร้างหน่วยสืบพันธุ์เรียกว่าสปอร์, สปอร์มีลักษณะกลม, สีเขียว และมีสายยาว ๆ 4 สาย, พันอยู่รอบ ๆ, ปลายของสายทั้ง 4 นี้, พองออกเป็นรูปกระบอง[6]
 
  ใบ ใบ ติดกันเป็นรูปทรงกระบอกหุ้มรอบข้อ, ยาว 4 – 12 มม., สีเขียว, ขอบแยกเป็นแฉก ๆ , มีน้ำตาล หรือขาว, แฉกเหล่านี้แห้งและร่วงง่าย, แตกกิ่งตามข้อ ๆ ละ 1 – 4 กิ่ง.
อวัยวะสืบพันธุ์ เกิดที่ยอด, เป็นรูปของขนานแกมรูปรี, สร้างหน่วยสืบพันธุ์เรียกว่าสปอร์, สปอร์มีลักษณะกลม, สีเขียว และมีสายยาว ๆ 4 สาย, พันอยู่รอบ ๆ, ปลายของสายทั้ง 4 นี้, พองออกเป็นรูปกระบอง[6]
 
  ดอก -
 
  ผล -
 
  สรรพคุณ / การใช้ประโยชน์ - ต้น ต้มน้ำดื่มแก้อาการปัสสาวะไม่ออก(กะเหรี่ยงแม่ฮ่องสอน)
ลำต้น นำมาทุบแล้วใช้ถูรักษาแผลที่เกิดจากขี้หูด หรือนำมาต้มน้ำดื่มแก้อาการปวดหลังปวดเอว(ไทลื้อ)
ลำต้นและราก ต้มรวมกับรากมะเดื่อหิน ดื่มน้ำรักษาโรคนิ่ว(คนเมือง)
ทั้งต้น ตากแห้งแล้วใช้เข้ายารักษานิ่วร่วมกับกะซิเพเปร แก้อาการปวดท้องปัสสาวะไม่ออก(กะเหรี่ยงเชียงใหม่)
- ต้น น้ำต้มทั้งต้น, กินเป็นยาขับปัสสาวะ , เป็นยาเย็น , ตำเป็นยาพอกบาดแผล, พอกกระดูกที่เดาะ หรือ หัก และพอกแก้ปวดตามข้อ [6]
 
  อ้างอิง เต็ม สมิตินันทน์,2544. ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย. ส่วนพฤกษศาสตร์ป่าไม้ สำนักวิชาการป่าไม้ กรมป่าไม้, กรุงเทพฯ.
[6] ลีนา ผู้พัฒนพงศ์, 2530. สมุนไพรไทยตอนที่ 5 . ฝ่ายพฤกษศาสตร์ป่าไม้ กองบำรุง กรมป่าไม้, กรุงเทพฯ.
 
  สภาพนิเวศ พบขึ้นเองตามผืนป่าดงดิบที่มีความชุ่มชื้นตลอดปี ในทุกภาคของประเทศไทยที่สูง 500 เมตรขึ้นไป เหนือระดับน้ำทะเล ส่วนใหญ่ขึ้นใต้ร่มเงาต้นไม้ใหญ่ ใกล้แหล่งนํ้า
 
  เอกสารประกอบ
 
ภาพนิ่ง