|
|
|
|
พืชตามกลุ่มการใช้ประโยชน์
|
|
|
|
eherb ผลการค้นหา
ชะอม , ผักหละ
|
ชะอม , ผักหละ
Acacia pennata ( L. ) Willd. subsp. insuavis (Lace) I.C. Nielsen |
|
|
|
|
|
|
|
รายละเอียดทางพฤษศาสตร์ |
|
|
วงศ์ |
Leguminosae (Mimosaceae) |
|
|
ชื่อวิทยาศาสตร์ |
Acacia pennata ( L. ) Willd. subsp. insuavis (Lace) I.C. Nielsen |
|
|
ชื่อไทย |
ชะอม , ผักหละ |
|
|
ชื่อท้องถิ่น |
โพซุยเด๊าะ(กะเหรี่ยงแม่ฮ่องสอน), ผักหละ(คนเมือง), มะจื้อกั๋ว(ม้ง), สร้ะ(ขมุ), บ่ะหละ(ลั้วะ), ด่อละฮ้ำ(ปะหล่อง), ยิ่มเจวย(เมี่ยน) |
|
|
ลักษณะทาง พฤกษศาสตร์ |
เป็นไม้เถาเนื้อแข็ง หรือไม้เถายืนต้น ลำต้นสีขาวมีหนามแหลมคม ใบประกอบขนาดเล็กเป็นฝอย มีก้านใบแยกเป็น 2 ทาง ลักษณะคล้ายใบกระถินหรือใบส้มป่อย ใบมีกลิ่นฉุนคล้ายกลิ่นลูกสะตอ ใบเรียงสลับ ใบย่อยออกตรงข้ามกัน ใบย่อยรูปรีมี 13-28 คู่ ขอบใบเรียบ ปลายใบแหลม ออกดอกตามซอกใบ สีขาวหรือขาวนวล ขนาดเล็ก เห็นชัดเฉพาะเกสรตัวผู้ที่เป็นฝอย |
|
|
ใบ |
- |
|
|
ดอก |
- |
|
|
ผล |
- |
|
|
สรรพคุณ / การใช้ประโยชน์ |
- ยอดอ่อนและใบอ่อน ใช้ประกอบอาหาร เช่น แกง หรือลวกกินกับน้ำพริก(คนเมือง)
ยอดอ่อน นำไปแกง(ม้ง,เมี่ยน,กะเหรี่ยงแม่ฮ่องสอน)
ยอดอ่อน นำไปประกอบอาหารเช่น แกง หรือทอดใส่ไข่(ขมุ)
ยอดอ่อน นำไปประกอบอาหารเช่น แกง หรือนึ่งกินกับน้ำพริก(ลั้วะ)
ยอดอ่อน นำไปประกอบอาหาร เช่น แกงชะอม(ปะหล่อง) |
|
|
อ้างอิง |
เต็ม สมิตินันทน์,2544. ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย. ส่วนพฤกษศาสตร์ป่าไม้ สำนักวิชาการป่าไม้ กรมป่าไม้, กรุงเทพฯ.
|
|
|
สภาพนิเวศ |
พบกระจายทั่วไป ชอบพื้นที่ค่อนข้างชื้น ทนน้ำขังได้ |
|
|
เอกสารประกอบ |
|
|
|
ภาพนิ่ง |
|
|
|
|
|
|
|
|