|
วงศ์ |
Araliaceae |
|
|
ชื่อวิทยาศาสตร์ |
Eleutherococcus trifoliatus (L.) S.Y.Hu |
|
|
ชื่อไทย |
ผักแปม |
|
|
ชื่อท้องถิ่น |
ด่อกุงแครม(ปะหล่อง), ผักแปม(ลั้วะ,ขมุ,ไทลื้อ,คนเมือง), บ่ะแปม(ลั้วะ) |
|
|
ลักษณะทาง พฤกษศาสตร์ |
ผักแปมเป็นไม้พุ่มสูง 1-2 เมตร เปลือกต้นสีน้ำตาล กิ่งก้านสีเขียว มีหนามกระจายอยู่ทุกส่วนของลำต้น |
|
|
ใบ |
ใบประกอบแบบนิ้วมือมี 5 ใบย่อย ออกเรียงสลับ ใบย่อยรูปรีและรูปไข่ ขอบใบจักฟันเลื่อย ปลายและโคนใบแหลม มีกลิ่นเฉพาะ |
|
|
ดอก |
ดอกออกเป็นช่อซี่ร่ม สีเขียวอมเหลือง |
|
|
ผล |
ผลรูปทรงกลม |
|
|
สรรพคุณ / การใช้ประโยชน์ |
- ยอดอ่อน แกงใส่เนื้อแห้ง ปลาแห้งหรือรับประทานเป็นผักจิ้มน้ำพริก(ปะหล่อง)
ใบและยอดอ่อน รับประทานสดหรือนึ่งกินกับลาบ(ลั้วะ)
ใบ รับประทานกับลาบได้(ขมุ)
ยอดอ่อน ประกอบอาหารเช่น ใส่แกง หรือรับประทานกับลาบ(คนเมือง)
ยอดอ่อน รับประทานกับลาบหรือใช้ใส่แกง(ลั้วะ)
ใบอ่อน รับประทานกับลาบ(ลั้วะ,คนเมือง)
ใบ ใช้ประกอบอาหาร เช่น แกงยอดอ่อน ลวกกินกับน้ำพริก มีรสขม(คนเมือง) |
|
|
อ้างอิง |
เต็ม สมิตินันทน์,2544. ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย. ส่วนพฤกษศาสตร์ป่าไม้ สำนักวิชาการป่าไม้ กรมป่าไม้, กรุงเทพฯ.
|
|
|
สภาพนิเวศ |
ชอบขึ้นในป่าเบญจพรรณ ป่าเสื่อมโทรม ตามริมน้ำ มีแสงแดดส่องถึง |
|
|
เอกสารประกอบ |
|