ค้นหาสมุนไพร  
     
   
   
   
     
 
   
eherb ผลการค้นหา สลอดเถา, มะหลอด
สลอดเถา, มะหลอด
Elaeagnus latifolia L.
 
 
 
 
 
รายละเอียดทางพฤษศาสตร์
 
  วงศ์ Elaeagnaceae
 
  ชื่อวิทยาศาสตร์ Elaeagnus latifolia L.
 
  ชื่อไทย สลอดเถา, มะหลอด
 
  ชื่อท้องถิ่น - ลำชิลอต(ลั้วะ), กองก๋ายล่วง(เมี่ยน), ตาดเต้ด(ขมุ), มะหลอด(ไทใหญ่,คนเมือง,ปะหล่อง), เพี๊ยะหลอด(ลั้วะ), เส่ทู่โพ(กะเหรี่ยงแม่ฮ่องสอน) - ควยรอก (ตราด); มะหลอด (เหนือ); ส้มหลอด (ใต้). [6]
 
  ลักษณะทาง พฤกษศาสตร์ ไม้เถา, เนื้อแข็ง, ตามลำต้นและกิ่งมีเกล็ดสีเทาหรือสีเงิน.
ใบ เดี่ยว, เรียงสลับกัน, แผ่นใบรูปรีหรือรีแกมรูปหอก, กว้าง 3.5 – 5.5 ซม., ยาว 6 – 12 ซม.; โคนใบแหลม หรือมน; ปลายใบมน, แหลมหรือเป็นติ่งเล็กน้อย; ขอบใบเรียบ; เนื้อใบบาง, ด้านบนสีเขียวอมน้ำเงิน, เกลี้ยง, ด้านล่างมีเกล็ดเล็ก ๆ , สีน้ำตาลทั่วไป; ก้านใบยาว 0.8 – 1.2 ซม., ด้านบนเป็นร่องลึก, มีเกล็ดเล็ก ๆ สีน้ำตาบปกคลุม.
ดอก ออกเป็นกระจุกตามง่ามใบ, ยาว 1 – 2 ซม., เป็นดอกสมบูรณ์เพศ หรือมีดอกเพศผู้ปะปนด้วย, กลีบดอกมีเพียงชั้นเดียว (ไม่สามารถแยกเป็นกลีบรองกลีบดอก และกลีบดอกได้), เชื่อมติดกันเป็นหลอด, ยาวประมาณ 0.5 ซม., ปลายแยกเป็นกลีบมน ๆ เล็ก ๆ 4 กลีบ; เกสรผู้ 4 อัน, ติดอยู่กับหลอดท่อดอก; รังไข่ภายในมีช่องเดียว, ท่อรับไข่เล็ก, ยาวคล้ายเส้นด้าย.
ผล รูปรี, ยาว 1 – 2 ซม., สีแดง หรือแดงอมส้ม, มีจุด ๆ สีขาว, กินได้, รสเปรี้ยว.[6]
 
  ใบ ใบ เดี่ยว, เรียงสลับกัน, แผ่นใบรูปรีหรือรีแกมรูปหอก, กว้าง 3.5 – 5.5 ซม., ยาว 6 – 12 ซม.; โคนใบแหลม หรือมน; ปลายใบมน, แหลมหรือเป็นติ่งเล็กน้อย; ขอบใบเรียบ; เนื้อใบบาง, ด้านบนสีเขียวอมน้ำเงิน, เกลี้ยง, ด้านล่างมีเกล็ดเล็ก ๆ , สีน้ำตาลทั่วไป; ก้านใบยาว 0.8 – 1.2 ซม., ด้านบนเป็นร่องลึก, มีเกล็ดเล็ก ๆ สีน้ำตาบปกคลุม.
 
  ดอก ดอก ออกเป็นกระจุกตามง่ามใบ, ยาว 1 – 2 ซม., เป็นดอกสมบูรณ์เพศ หรือมีดอกเพศผู้ปะปนด้วย, กลีบดอกมีเพียงชั้นเดียว (ไม่สามารถแยกเป็นกลีบรองกลีบดอก และกลีบดอกได้), เชื่อมติดกันเป็นหลอด, ยาวประมาณ 0.5 ซม., ปลายแยกเป็นกลีบมน ๆ เล็ก ๆ 4 กลีบ; เกสรผู้ 4 อัน, ติดอยู่กับหลอดท่อดอก; รังไข่ภายในมีช่องเดียว, ท่อรับไข่เล็ก, ยาวคล้ายเส้นด้าย.
 
  ผล ผล รูปรี, ยาว 1 – 2 ซม., สีแดง หรือแดงอมส้ม, มีจุด ๆ สีขาว, กินได้, รสเปรี้ยว.[6]
 
  สรรพคุณ / การใช้ประโยชน์ - ผลสุก รับประทานได้(ลั้วะ,เมี่ยน,ขมุ,ไทใหญ่,คนเมือง,ปะหล่อง,กะเหรี่ยงแม่ฮ่องสอน)
ผลสุก รับประทานได้หรือนำไปดองกับเกลือ(ลั้วะ)
- ทั้งต้น ต้มอาบแก้อาการใจสั่น(ไทใหญ่)
- ดอก ใช้เข้าเครื่องยา, เป็นยาฝาดสมาน และบำรุงหัวใจ
ผล เป็นยาฝาดสมาน , แก้บิด และท้องเสียสำหรับเด็ก
ผลสุกใช้กินเป็นอาหาร [6]
 
  อ้างอิง เต็ม สมิตินันทน์,2544. ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย. ส่วนพฤกษศาสตร์ป่าไม้ สำนักวิชาการป่าไม้ กรมป่าไม้, กรุงเทพฯ.
[6] ลีนา ผู้พัฒนพงศ์, 2530. สมุนไพรไทยตอนที่ 5 . ฝ่ายพฤกษศาสตร์ป่าไม้ กองบำรุง กรมป่าไม้, กรุงเทพฯ.
 
  สภาพนิเวศ พบตามชายป่าที่ชื้น ป่าเบญจพรรณ และชอบขึ้นอยู่ตามเนินเขาทั่วไปในที่โล่ง ที่ระดับ 200-1,600 เมตร เหนือระดับน้ำทะเล
 
  เอกสารประกอบ
 
ภาพนิ่ง