|
วงศ์ |
Compositae (Asteraceae) |
|
|
ชื่อวิทยาศาสตร์ |
Eclipta prostrata (L.) L. |
|
|
ชื่อไทย |
กะเม็ง, หญ้าฮ่อมเกี่ยว |
|
|
ชื่อท้องถิ่น |
ฮ่อมเกี่ยว(ลั้วะ,ขมุ), หญ้าฮ่อมเกี่ยว(คนเมือง), ผักเกี่ยวหม้อ(ลั้วะ), ฮ่อมเกี่ยวใหญ่(ไทลื้อ), ยาฮงเก่ว(ปะหล่อง) |
|
|
ลักษณะทาง พฤกษศาสตร์ |
ต้น เป็นพรรณไม้ล้มลุกที่มีลำต้นตั้งตรง มีความสูงประมาณ 4 – 32 นิ้ว ลักษณะลำต้นมีขนหรือบางต้นก็ค่อนข้างเกลี้ยง ลำต้นมีกิ่งก้านแตกที่โคนต้น
ใบ ใบมีลักษณะเป็นรูปรีหรือรูปหอก ปลายใบแหลมเรียว โคนใบสอบแคบ ริมขอบใบหยักเป็นฟันเลื่อย ผิวเนื้อใบเกลี้ยง ขนาดของใบกว้างประมาณ 0.5 – 2.5 ซม. ยาวประมาณ 3 – 10 ซม. ก้านใบไม่มี
ดอก ดอกออกเป็นกระจุก ลักษณะของดอกมีกลีบดอกสีขาว ดอกวงในโคนดอกเชื่อมติดกันเป็นรูปท่อยาวประมาณ 2 มม. ส่วนปลายจะหยักเป็น 4 แฉก ดอกในวงนอกเป็นรูปรางน้ำยาวประมาณ 2.5 มม. ปลายดอกหยักเป็น 2 แฉก ก้านดอกเรียวยาว ยาวประมาณ 2 – 4.5 ซม.
ผล ผลมีลักษณะเป็นรูปลูกข่าง มีสีดำ ปลายมีรยางค์เป็นเกล็ดยาวประมาณ 3 มม. ขนาดของผลกว้างประมาณ 1.5 มม. ยาวประมาณ 3 – 3.5 มม.[1] |
|
|
ใบ |
ใบ ใบมีลักษณะเป็นรูปรีหรือรูปหอก ปลายใบแหลมเรียว โคนใบสอบแคบ ริมขอบใบหยักเป็นฟันเลื่อย ผิวเนื้อใบเกลี้ยง ขนาดของใบกว้างประมาณ 0.5 – 2.5 ซม. ยาวประมาณ 3 – 10 ซม. ก้านใบไม่มี
|
|
|
ดอก |
ดอก ดอกออกเป็นกระจุก ลักษณะของดอกมีกลีบดอกสีขาว ดอกวงในโคนดอกเชื่อมติดกันเป็นรูปท่อยาวประมาณ 2 มม. ส่วนปลายจะหยักเป็น 4 แฉก ดอกในวงนอกเป็นรูปรางน้ำยาวประมาณ 2.5 มม. ปลายดอกหยักเป็น 2 แฉก ก้านดอกเรียวยาว ยาวประมาณ 2 – 4.5 ซม.
|
|
|
ผล |
ผล ผลมีลักษณะเป็นรูปลูกข่าง มีสีดำ ปลายมีรยางค์เป็นเกล็ดยาวประมาณ 3 มม. ขนาดของผลกว้างประมาณ 1.5 มม. ยาวประมาณ 3 – 3.5 มม.[1] |
|
|
สรรพคุณ / การใช้ประโยชน์ |
- ยอดอ่อน นึ่งเป็นผักจิ้มน้ำพริกหรือนำไปแกง(ลั้วะ)
- ทั้งต้น นำมาหมกไฟรวมกับหญ้าเอ็นยืด แล้วนำมานวด แก้อาการปวดเมื่อย(ลั้วะ)
ยอดอ่อน นำมา 3-7 ยอด ลนไฟจนเหี่ยว แล้วนำไปคั้นกับน้ำที่ต้มไว้แล้ว กรองเอาน้ำใสๆ ผสมกับยาลม ยาผงแดง กินแก้ไข้ ไม่สบายตัว หรือมีอาการชัก(คนเมือง)
ใบ ทุบแล้วแช่น้ำรวมกับตะไคร้ เมล็ดถั่วเหลืองและก้านผลฟักทอง ดื่มแก้อาการลมชัก เนื่องจากมีไข้สูง(ปะหล่อง)
ใบ ทุบผสมกับไพล ตะไคร้ ฮ่อมเกี่ยวน้อยและฮ่อม ห่อด้วยผ้าแล้วใช้เป็นยาประคบแก้อาการปวดเมื่อย(ไทลื้อ)
ราก ต้มน้ำดื่มแก้อาการปวดท้อง ใช้ร่วมกับรวมกับพืชอีกหลายชนิด(ขมุ)
- ลำต้น ใช้เป็นยาฝาดสมาน บำรุงอวัยวะเพศ แก้ตกขาว โรคมะเร็ง คอตีบ ปัสสาวะเป็นโลหิต ไอเป็นโลหิต อุจาระเป็นโลหิต อาเจียนเป็นโลหิต โรคลำไส้อักเสบ บำรุงไต วิธีใช้ด้วยการนำมาต้มเอาน้ำดื่ม หรือนำลำต้นมาตำให้ละเอียดคั้นเอาน้ำผสมกับน้ำหอม ใช้สูดดม แก้โรคดีซ่านและแก้ไข้หวัด และเมื่อนำมาผสมกับพริกไทยและน้ำผึ้ง แล้วปั้นเป็นกลอนเล็ก ๆ ใช้กินเป็นยาบำรุงร่างกายให้แข็งแรง แก้ปวดเมื่อย
ใบ นำใบสดมาตำให้ละเอียดแล้วคั้นเอาน้ำมาผสมกับน้ำมันมะพร้าว ใช้ใส่ผม ช่วยทำให้ผมดก ดำเป็นมัน และยังแก้ผมหงอกก่อนวัย เมื่อนำมาผสมกับน้ำผึ้งกิน เป็นยาแก้โรคหวัด น้ำมูก
ไหลใช้กับทารก ตำเอากากมาพอกบริเวณแผลฟกช้ำ แผลไฟไหม้ แผลห้ามโลหิต และเป็นยาแก้โรคผิวหนังกลากเกลื้อน จากเชื้อรา
ดอกและใบ ใช้ต้มแล้วนำมาทา ในบริเวณเหงือก หรือฟันที่ปวด
ราก ใช้ต้มเอาน้ำกิน เป็นยาแก้โรคเลือดจาง โรคปอด ท้องร่วง โรคบิด หอบหืด หลอดลมอักเสบ ตับอักเสบ อาการแน่นหน้าอก และรักษาโรคเกี่ยวกับตา[1] |
|
|
อ้างอิง |
เต็ม สมิตินันทน์,2544. ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย. ส่วนพฤกษศาสตร์ป่าไม้ สำนักวิชาการป่าไม้ กรมป่าไม้, กรุงเทพฯ.
[1] วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม, 2548. พจนานุกรมสมุนไพรไทย. ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 6. รวมสาส์น (1977) จำกัด. กรุงเทพ ฯ.
|
|
|
สภาพนิเวศ |
- |
|
|
เอกสารประกอบ |
|