ค้นหาสมุนไพร  
     
   
   
   
     
 
   
eherb ผลการค้นหา กระทุงหมาบ้า, ฮ้วนหมู
กระทุงหมาบ้า, ฮ้วนหมู
Dregea volubilis (L.f.) Hook.f.
 
 
 
 
 
รายละเอียดทางพฤษศาสตร์
 
  วงศ์ Apocynaceae (Asclepiadaceae)
 
  ชื่อวิทยาศาสตร์ Dregea volubilis (L.f.) Hook.f.
 
  ชื่อไทย กระทุงหมาบ้า, ฮ้วนหมู
 
  ชื่อท้องถิ่น ผักฮ้วน(คนเมือง), ผักม้วน(ไทลื้อ), ผักฮ้วนหมู(คนเมือง)
 
  ลักษณะทาง พฤกษศาสตร์ ต้น เป็นพรรณไม้เลื้อย มีลำต้นเป็นเถากลม เนื้อแข็ง เปลือกมีสีน้ำตาลอ่อน ลำต้นเถาจะพาดพันตามต้นไม้ใหญ่
ใบ ใบเป็นใบเดี่ยว ใบมีลักษณะเป็นรูปไข่ ปลายใบยาวเรียว โคนใบมนหรือเว้า ขนาดของใบกว้างประมาณ 1.5 – 4 นิ้ว ยาวประมาณ 2.5 – 4.5 นิ้ว เนื้อผิวใบค่อนข้างหนา หลังใบมีสีเขียวเข้ม ใต้ท้องใบมีสีเขียวอ่อนกว่า ก้านใบยาว 1.5 – 2.5 นิ้ว
ดอก ดอกออกเป็นช่อตามบริเวณง่ามใบ ลักษณะของดอกเป็นดอกที่มีขนาดเล็ก มีกลีบดอกและกลีบรองกลีบดอกอย่างละ 5 กลีบ กลีบดอกยาวประมาณ 2 มม. โคนกลีบดอกจะเชื่อมติดกันเป็นท่อ ส่วนปลายกลีบก็จะแยกออกเป็นแฉกรูปเหลี่ยม ดอกเมื่อบานเต็มที่มีขนาดกว้างประมาณ 1.5 ซม.
ผล ผลมีลักษณะเป็นฝัก มีความกว้างประมาณ 16 – 30 มม. ยาวประมาณ 7.5 – 10 ซม. เปลือกฝักมีสีเหลือง ข้างในฝักมีเมล็ด เป็นรูปรีกว้าง ยาวราว 1.2 ซม.[1]
 
  ใบ ใบ ใบเป็นใบเดี่ยว ใบมีลักษณะเป็นรูปไข่ ปลายใบยาวเรียว โคนใบมนหรือเว้า ขนาดของใบกว้างประมาณ 1.5 – 4 นิ้ว ยาวประมาณ 2.5 – 4.5 นิ้ว เนื้อผิวใบค่อนข้างหนา หลังใบมีสีเขียวเข้ม ใต้ท้องใบมีสีเขียวอ่อนกว่า ก้านใบยาว 1.5 – 2.5 นิ้ว
 
  ดอก ดอก ดอกออกเป็นช่อตามบริเวณง่ามใบ ลักษณะของดอกเป็นดอกที่มีขนาดเล็ก มีกลีบดอกและกลีบรองกลีบดอกอย่างละ 5 กลีบ กลีบดอกยาวประมาณ 2 มม. โคนกลีบดอกจะเชื่อมติดกันเป็นท่อ ส่วนปลายกลีบก็จะแยกออกเป็นแฉกรูปเหลี่ยม ดอกเมื่อบานเต็มที่มีขนาดกว้างประมาณ 1.5 ซม.
 
  ผล ผล ผลมีลักษณะเป็นฝัก มีความกว้างประมาณ 16 – 30 มม. ยาวประมาณ 7.5 – 10 ซม. เปลือกฝักมีสีเหลือง ข้างในฝักมีเมล็ด เป็นรูปรีกว้าง ยาวราว 1.2 ซม.[1]
 
  สรรพคุณ / การใช้ประโยชน์ - ยอดอ่อนและช่อดอก ใช้ประกอบอาหาร เช่น แกง หรือลวกกินกับน้ำพริก(คนเมือง)
ยอดอ่อนและดอก นึ่งกินกับน้ำพริก(ไทลื้
ยอดอ่อนและช่อดอก นึ่งกินกับน้ำพริกหรือส้มตำ(คนเมือง)
- ลำต้น ใช้เป็นยาแก้โรคตา แก้หวัด ทำให้จาม แก้พิษงูกัด
ใบ แก้แผลที่ถูกน้ำร้อนลวก แก้บวม แก้ฝี วิธีใช้โดยการนำใบสดมาตำให้ละเอียดแล้วใช้ทาบริเวณแผล
ราก ทำให้อาเจียน ขับพิษร้อน กระทุ้งพิษ พิษฝี พิษไข้หัว ไข้กาฬ แก้ปัสสาวะพิการ แก้พิษน้ำดีกำเริบ ช่วยให้นอนหลับ
ผล เป็นยารักษาโรคให้สัตว์
รากและลำต้นอ่อน ทำให้อาเจียน
เถา เป็นยาเย็น ขับปัสสาวะ[1]
 
  อ้างอิง เต็ม สมิตินันทน์,2544. ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย. ส่วนพฤกษศาสตร์ป่าไม้ สำนักวิชาการป่าไม้ กรมป่าไม้, กรุงเทพฯ.
[1] วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม, 2548. พจนานุกรมสมุนไพรไทย. ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 6. รวมสาส์น (1977) จำกัด. กรุงเทพ ฯ.
 
  สภาพนิเวศ ชอบขึ้นตามป่าเบญจพรรณและป่าดิบแล้ง
 
  เอกสารประกอบ
 
ภาพนิ่ง