|
|
|
|
พืชตามกลุ่มการใช้ประโยชน์
|
|
|
|
eherb ผลการค้นหา
เกล็ดมังกร
|
เกล็ดมังกร
Dischidia nummularia R.Br. |
|
|
|
|
|
|
|
รายละเอียดทางพฤษศาสตร์ |
|
|
วงศ์ |
Apocynaceae (Asclepiadaceae) |
|
|
ชื่อวิทยาศาสตร์ |
Dischidia nummularia R.Br. |
|
|
ชื่อไทย |
เกล็ดมังกร |
|
|
ชื่อท้องถิ่น |
แผงคออีวอก, แผงคอลิง(คนเมือง) |
|
|
ลักษณะทาง พฤกษศาสตร์ |
ไม้เกาะเลื้อยอิงอาศัย มียางขาว ลำต้นเล็ก รากออกตามข้อและปล้อง ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม รูปเกือบกลมคล้ายเบี้ย ปลายมีติ่งสั้น ใบหนาและอวบน้ำมองไม่เห็นเส้นใบ ช่อดอกแบบช่อกระจุกออกตามง่ามใบ มี 1-5 ดอก บานทีละดอก ดอกเล็กมาก กลีบดอก 5 กลีบ สีขาวนวล โคนติดกัน รูปคล้ายคนโท ปลายแยกเป็น 5 แฉก ฝักรูปทรงกระบอก ยาว 1.5-4 ซม. ฝักแก่แตกแนวเดียว มีเมล็ดมาก เมล็ดมีขนยาวสีขาวเป็นพู่ที่ปลายด้านหนึ่ง
|
|
|
ใบ |
- |
|
|
ดอก |
- |
|
|
ผล |
- |
|
|
สรรพคุณ / การใช้ประโยชน์ |
- ใบที่เปลี่ยนรูป ขยี้หรือตำผสมกับน้ำที่คั้นได้จากหัวข่า นำไปทาผิวหนังบริเวณที่เป็นกลากเกลื้อน โรคผิวหนัง ช่วยลดอาการคัน และทำให้หายเร็วขึ้น(คนเมือง)
|
|
|
อ้างอิง |
เต็ม สมิตินันทน์,2544. ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย. ส่วนพฤกษศาสตร์ป่าไม้ สำนักวิชาการป่าไม้ กรมป่าไม้, กรุงเทพฯ.
|
|
|
สภาพนิเวศ |
- |
|
|
เอกสารประกอบ |
|
|
|
ภาพนิ่ง |
|
|
|
|
|
|
|
|