|
|
|
|
พืชตามกลุ่มการใช้ประโยชน์
|
|
|
|
eherb ผลการค้นหา
Paco Fern [3]
|
Paco Fern [3]
Diplazium esculentum (Retz.) Sw. |
|
|
|
|
|
|
|
รายละเอียดทางพฤษศาสตร์ |
|
|
วงศ์ |
Woodsiaceae (Athyriaceae) |
|
|
ชื่อวิทยาศาสตร์ |
Diplazium esculentum (Retz.) Sw. |
|
|
ชื่อไทย |
ผักกูดขาว, ผักกูด,กูดกิน |
|
|
ชื่อท้องถิ่น |
แทรอแปล๊ะ(กะเหรี่ยงแดง), หย่ายจ๊วด(เมี่ยน), ผักกูด(คนเมือง), เหล้าชั้ว(ม้ง), บ่ะฉ้อน(ลั้วะ), ร่านซู้ล(ขมุ), แลโพโด้,แหละโพะโด้ะ(กะเหรี่ยงเชียงใหม่) |
|
|
ลักษณะทาง พฤกษศาสตร์ |
เฟิร์นขนาดใหญ่ มีเหง้า (rhizome) ตั้งตรงสูงประมาณ 1 เมตร เหง้าปกคลุมด้วยใบเกล็ด (scale leaf) สีน้ำตาลเข้มถึงดำ ขอบใบเกล็ดหยักเป็นซีฟัน เกล็ดกว้างประมาณ 1 มล. ยาวประมาณ 1 ซม.
ใบ ออกจากยอกเหง้า ก้านใบยาว ใบเป็นใบประกอบแบบขนนก 2-3 ชั้น ยาวประมาณ 1 เมตร กว้างประมาณ 50 ซม. ใบย่อยคู่ล่างเล็กกว่าใบย่อยช่วงกลาง ใบย่อยบาง ปลายเรียวแหลม โคนรูปกิ่งหัวใจหรือรูปติ่งหู ขอบใบหยักเว้าลึกเป็นแฉกเกือบถึงเส้นกลางใบ เส้นใยแยกแบบขนนกยาวถึงแต่ละแฉก มีเส้นใบย่อยประมาณ 10 คู่ สานกับเส้นใบเป็นร่างแห ก้านใบย่อยสั้นหรือไม่มี อับสปอร์ อยู่ตามความยาวของเส้นใบย่อยเชื่อมกับอับสปอร์ที่อยู่ในแฉกติดกันซึ่งมีเส้นใบมาสานกัน [3] |
|
|
ใบ |
ใบ ออกจากยอกเหง้า ก้านใบยาว ใบเป็นใบประกอบแบบขนนก 2-3 ชั้น ยาวประมาณ 1 เมตร กว้างประมาณ 50 ซม. ใบย่อยคู่ล่างเล็กกว่าใบย่อยช่วงกลาง ใบย่อยบาง ปลายเรียวแหลม โคนรูปกิ่งหัวใจหรือรูปติ่งหู ขอบใบหยักเว้าลึกเป็นแฉกเกือบถึงเส้นกลางใบ เส้นใยแยกแบบขนนกยาวถึงแต่ละแฉก มีเส้นใบย่อยประมาณ 10 คู่ สานกับเส้นใบเป็นร่างแห ก้านใบย่อยสั้นหรือไม่มี อับสปอร์ อยู่ตามความยาวของเส้นใบย่อยเชื่อมกับอับสปอร์ที่อยู่ในแฉกติดกันซึ่งมีเส้นใบมาสานกัน [3] |
|
|
ดอก |
- |
|
|
ผล |
- |
|
|
สรรพคุณ / การใช้ประโยชน์ |
- ยอดอ่อน ลวกกินจิ้มน้ำพริก(กะเหรี่ยงแดง,คนเมือง)
ยอดอ่อน ใช้ประกอบอาหารเช่น ผัด แกง(เมี่ยน,ลั้วะ,ม้ง,กะเหรี่ยงเชียงใหม่)
ยอดอ่อน นำไปประกอบอาหารได้ เช่นผัด(ขมุ)
ยอดอ่อน ประกอบอาหาร เข่นใส่แกงส้มหรือนึ่งกินกับ น้ำพริก(คนเมือง)
- ใบแก้ไข้ตัวร้อน แก้พิษอักเสบ บำรุงสายตา บำรุงโลหิต แก้โลหิตจาง ป้องกันเลือดออกตามไรฟัน ขับปัสสาวะ
ใบอ่อนและยอดอ่อน ใช้แกงผักกูดแกงกับปลาสด ลวกหรือต้มให้สุกแล้วนำมารับประทานเป็นผักจิ้มร่วมกับน้ำพริกแดง น้ำพริกปลาร้า หรือแกงแคร่วมกับผักชนิดต่างๆ
ผักสด ร่วมกับน้ำพริก ชาวอีสานและภาคเหนือรับประทานยอดสดกับลาบ ยำ ก้อย ปลาป่น ส้มตำ ยำ ปรุงเป็นยำผักกูด มีแคลเซียมออกซาเลทสูง ระวังไตอักเสบ และควรทำให้สุก ทำลายผลึกแคลเซียมออกซาเลท
ยอดผักกูดนำมาต้มหรือลวก บางครั้งอาจราดด้วยน้ำกะทิ รับประทานร่วมกับน้ำพริกหรือแกงรสจืดได้ การผัด ผักกูดกับไข่หรือแหนม แกง ยอดผักกูดใบอ่อน ปรุงเป็นแกงจืด แกงเลียง และแกงส้ม [3] |
|
|
อ้างอิง |
เต็ม สมิตินันทน์,2544. ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย. ส่วนพฤกษศาสตร์ป่าไม้ สำนักวิชาการป่าไม้ กรมป่าไม้, กรุงเทพฯ.
[3] สมพร ภูติยานันต์, 2551. สมุนไพรใกล้ตัว เล่ม 13 : สมุนไพรแต่งสี กลิ่น รส. วิทยาศาสตร์เภสัชกรรม คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. ตุลย์การพิมพ์, เชียงใหม่. |
|
|
สภาพนิเวศ |
ชอบขึ้นบริเวณที่มีความชื้นสูง หรือตามลำห้วยที่มีน้ำไหลผ่าน มีแสงแดดรำไร ปลูกได้ตามชายคลอง และห้วยหนอง |
|
|
เอกสารประกอบ |
|
|
|
ภาพนิ่ง |
|
|
|
|
|
|
|
|