|
วงศ์ |
Leguminosae (Mimosaceae) |
|
|
ชื่อวิทยาศาสตร์ |
Acacia catechu (L.f.) Willd . |
|
|
ชื่อไทย |
สีเสียด |
|
|
ชื่อท้องถิ่น |
- สีเสียด(กะเหรี่ยงเชียงใหม่) - สะเจ (ไทยใหญ่ แม่ฮ่องสอน) สีเสียดเหลือง (เชียงใหม่) สีเสียด ขี้เสียด (เหนือ) สีเสียดแก่น (ราชบุรี) สีเสียดเหนือ (กลาง) [8] |
|
|
ลักษณะทาง พฤกษศาสตร์ |
- ไม้ยืนต้น ขนาดเล็ก หรือขนาดกลาง สูงได้ถึง 15 เมตร ลำต้นมีเปลือกสีเทาแก่ หรือน้ำตาลลอมเทา สามารถลอกออกเป็นแนวยาวหรือแนวเฉียงได้ง่าย ด้านในสีน้ำตาลหรือแดง ผิวปกคลุมด้วยหนาม กิ่งค่อนข้างบอกบาง เมื่ออ่อนมีขนอ่อนปกคลุมบางและผิวเกลี้ยงเมื่อแก่ ยกเว้นบริเวณโคนของก้านใบมักจะมีหนามแหลมโค้งเป็นคู่
ใบ เป็นใบประกอบขนนสองชั้น ประกอบด้วยใบประกอบย่อย 9 – 30 คู่ และต่อม 1 ต่อมที่แกนกลาง ใบประกอบย่อยมใบ 16 – 50 คู่ ลักษณะใบย่อยรูปขอบขนานแกมรูปไข่ขนาดยาว 2 – 6 มม. ผิวใบเกลี้ยงหรืออาจมีขนละเอียดประปราย
ดอก ออกเป็นช่อคล้ายหางกระรอกบริเวณยอดหรือปลายกิ่ง ยาว 5 – 10 ซม. ดอกย่อยมีวงกลีบเลี้ยงรูประฆัง ขนาดยาว 1.0 – 1.5 มม. และกลีบดอกสีขาวหรือเหลืองอ่อน 1 กลีบ ยาว 2.5 – 3.0 มม. เกสรเพศผู้มีเป็นจำนวนมากยื่นยาวออกเหนือกลีบดอกสีขาวหรือขาวอมเหลือง
ผล เป็นฝักแบบ โคนกลีบปลายบานออกและค่อนข้างโค้ง กว้าง 1.0 – 1.5 ซม. ยาว 5.0 8.5 ซม. เมื่อแก่มีผิวสีน้ำตาลเป็นมันแตกออกได้ ภายในมีเมล็ดรูปไข่กว้าง 3 – 10 เมล็ดต่อฝักเมล็ดจำนวน 1,000 เมล็ด หนักประมาณ 65 กรัม [8] |
|
|
ใบ |
ใบ เป็นใบประกอบขนนสองชั้น ประกอบด้วยใบประกอบย่อย 9 – 30 คู่ และต่อม 1 ต่อมที่แกนกลาง ใบประกอบย่อยมใบ 16 – 50 คู่ ลักษณะใบย่อยรูปขอบขนานแกมรูปไข่ขนาดยาว 2 – 6 มม. ผิวใบเกลี้ยงหรืออาจมีขนละเอียดประปราย
|
|
|
ดอก |
ดอก ออกเป็นช่อคล้ายหางกระรอกบริเวณยอดหรือปลายกิ่ง ยาว 5 – 10 ซม. ดอกย่อยมีวงกลีบเลี้ยงรูประฆัง ขนาดยาว 1.0 – 1.5 มม. และกลีบดอกสีขาวหรือเหลืองอ่อน 1 กลีบ ยาว 2.5 – 3.0 มม. เกสรเพศผู้มีเป็นจำนวนมากยื่นยาวออกเหนือกลีบดอกสีขาวหรือขาวอมเหลือง
|
|
|
ผล |
ผล เป็นฝักแบบ โคนกลีบปลายบานออกและค่อนข้างโค้ง กว้าง 1.0 – 1.5 ซม. ยาว 5.0 8.5 ซม. เมื่อแก่มีผิวสีน้ำตาลเป็นมันแตกออกได้ ภายในมีเมล็ดรูปไข่กว้าง 3 – 10 เมล็ดต่อฝักเมล็ดจำนวน 1,000 เมล็ด หนักประมาณ 65 กรัม |
|
|
สรรพคุณ / การใช้ประโยชน์ |
- แก่นไม้ เคี้ยวกินกับหมาก(กะเหรี่ยงเชียงใหม่)
- ชาวเขาเผ่ากะเหรี่ยง ไทยใหญ่ มูเซอ และพม่า ใช้เนื้อของลำต้นเคี่ยวกับน้ำจนงวดเป็นยางก้อนใช้กินกับหมาก ใช้น้ำต้มเป็นพืชสี สำหรับย้อมเสื้อผ้า แห และเชือกเพื่อให้เกิดความคงทนซึ่งจะได้สีน้ำตาลอ่อนหรือแก่โดยให้มีความเข็มข้นมากหรือน้อยตามต้องการ ม้งนิยมใช้ย้อมหนังหรือเชือกเป็นปังเหียนหรือสายรัดเพื่อบังคับม้าหรือบรรทุกภาชนะบรรจุผลผลิตหรือสิ่งของต่างๆ ในการขนส่ง กะเหรี่ยงและไทยใหญ่ใช้ยางจากเปลือกลำต้นเป็นยาห้ามเลือดและรักษาแผลสด ใช้เปลือกต้มน้ำดื่มเป็นยาแก้ท้องเดิน ท้องร่วงและท้องเสีย ชาวเขาโดยทั่วไปใช้ลำต้นทำเสาบ้าน และกิ่งก้านสาขาทำฟืนเป็นเชื้อเพลิง สำหรับหุงหาอาหารหรือให้ความอบอุ่นในฤดูหนาว [8]
- ใช้แก่นของลำต้นเคี่ยวเอายางซึ่งมีลักษณะแข็งเป็นก้อนเรียกสีเสียด สีเสียดไทย หรือสีเสียดลาวเป็นส่วนผสมปูนกินกับหมากและใช้เป็นสีย้อมผ้าและย้อมหนัง แห และอวน เนื้อไม้ใช้ทำเครื่องมือการเกษตรต่างๆ เช่น ด้ามมีด ด้ามพร้า กงล้อเกวียน ตลอดจนทำถ่านสำหรับเป็นเชื้อเพลิงในการหุงต้มหลายแห่งได้พัฒนามาเป็นพืชปลูกประดับบ้าน หรือประดับสวน ส่วนที่ปลูกเพื่อผลิตสีเสียดเป็นการค้ายังมีปริมาณน้อย [8]
- เปลือกลำต้นใช้น้ำต้มเป็นยาระงับเชื้อ ชะล้างบาดแผล ล้างแผลถูกไฟไหม้ แผลหัวแตก สมานแผล และแก้โรคผิวหนัง บดหรือต้มเอาน้ำดื่มแก้ท้องร่วง บิดมูกเลือดลงแดงแก้อติสาร แก่นลำต้นใช้เป็นยาฝาดสมาน ยางเคี่ยวจากเปลือกและเนื้อไม้หรือสีเสียดใช้บดหรือต้มทาเป็นยาระงับเชื้อ ทาหรือล้างบาดแผล แก้แผลถูกไฟไหม้และโรคผิวหนัง กินหรือดื่มแก้แผลในปากในคอ แก้ท้องร่วง บิดมูกเลือด ลงแดง แก้อติสารและเป็นยาบำรุงธาตุ เมล็ดใช้บดกับน้ำทำเป็นยาพอกแก้โรคหิด [8]
- ลำต้นใช้ทำเสาบ้าน และเครื่องมือทางการเกษตร และเผาทำเป็นถ่านสำหรับเป็นเชื้อเพลิง หุงต้ม เยื่อไม้ที่เหลือจากการสกัดเอายางออกใช้ทำแผ่นไม้อัด ใบใช้เป็นอาหารสัตว์ ประเภท วัว ควาย ทั้งต้นใช้เลี้ยงครั่ง ในอินเดียและพม่ามีการปลูกสวนป่าเพื่อการค้า [8] |
|
|
อ้างอิง |
เต็ม สมิตินันทน์,2544. ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย. ส่วนพฤกษศาสตร์ป่าไม้ สำนักวิชาการป่าไม้ กรมป่าไม้, กรุงเทพฯ.
[8] ก่องกานดา ชยามฤตและลีนา ผู้พัฒนพงศ์, 2545. สมุนไพรไทยตอนที่ 7 . ส่วนพฤกษศาสตร์ป่าไม้ สำนักวิชาการป่าไม้ หอพรรณไม้ กรมป่าไม้, กรุงเทพฯ. |
|
|
สภาพนิเวศ |
- |
|
|
เอกสารประกอบ |
|